การมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในแขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
งานวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของค่าเฉลี่ย และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลักทั้งสาม ทั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบสอบถามจากการทบทวนวรรณกรรมแล้วนำไปทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และทดสอบความเชื่อมั่นภายในระหว่างข้อคำถามได้ค่า KMO อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่า Cronbach's Alpha ทั้งฉบับเท่ากับ .96 และมีความเชื่อมั่นรายกรอบเท่ากับ .95, .90 และ .86 เรียงตามลำดับ แต่อย่างก็ตามผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบคุณภาพแล้วไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำนวน 319 คนนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ รวมถึงสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณสำหรับการพยากรณ์แนวทางพัฒนาตามวัตถุประสงค์วิจัย ซึ่งค้นพบว่าระดับค่าเฉลี่ยตัวแปรการมีส่วนร่วมของประชาชน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคุณภาพชีวิตประชาชนอยู่ในระดับมาก โดยที่ตัวแปรทั้งสามมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนข้อค้นพบสำคัญนั้นพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมีปัจจัยอิทธิพลประกอบด้วยการมีส่วนร่วมตัดสินใจ การพอประมาณ คุณธรรม และการมีความรู้ โดยตัวแปรอิทธิพลทั้ง 4 มีสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์ร่วมกันที่ร้อยละ 49.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้โดยมีผลจากการสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่านที่ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับผลวิจัยนี้ว่า แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวภาครัฐต้องสร้างความรู้ ความเข้าในบทบาทของตนเองของประชาชน
References
พิสิฐ ลี้อาธรรม. (2549). ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจมหาภาคการเงินการคลัง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และ หิรัญ แสวงแก้ว. (2558). กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจังหวัดมหาสารคาม.วารสารเกษตรพระวรุณ. 12(1), 49.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2548). เศรษฐกิจพอเพียง : ทิศทางแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 9 ตามรอย พระยุคลบาท. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
สมพร เทพสิทธา. (2549). การเดินตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : กองทุนอริยมรรค.
สุกัลยา พลเดช. (2555). วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 60 ฉบับที่ 189 พฤษภาคม 2555 การเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการ โดยใช้ Modified z-scores โดย : สุกัลยา พลเดช.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549) . การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
Sarojini, I. (2005). Participation in developing Public Facility : Staff Association of University of Indonesia. Jakarta : Ir., M.Si.
UNICEF. (2005). UN Assembly Special Session on Children by Child Delegates.Retrieved March. 17, 2005
Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis, Third edition, New York: Harper and Row Publication.