การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามการเรียนรู้ความผูกพันของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ทวีทรัพย์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ประวิทย์ สิมมาทัน สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การสอนแบบผสมผสาน, การเรียนรู้ความผูกพันผู้เรียน, การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามการเรียนรู้ความผูกพันของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อประเมินรูปแบบ ที่สังเคราะห์ขึ้น วิธีดำเนินงานวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนจากการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group Discussion) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา, เทคโนโลยีการศึกษา, การสอนแบบผสมผสานและการวัดและประเมินผลทางการศึกษา จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) การประเมินรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินรูปแบบการสอน จำนวน 5 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามการเรียนรู้ความผูกพันของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่สังเคราะห์ขึ้น มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการสอน 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นฝึกคิดรายบุคคล 3) ขั้นระดมสมอง 4) ขั้นนำเสนอผลงาน            5) ขั้นยกย่องและให้รางวัล การประเมินรูปแบบการเรียนการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความคิดเห็นว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.17 ,S.D. = 0.53 ) สามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ทบวงมหาวิทยาลัย. (2540). ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย. [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2557]. จาก http://acad.chandra.ac.th/standard.html

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคการศึกษา.ปีที่ 1. ฉบับที่ 2.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2554). รายงานการจัดทำหลักสูตร คณะครุศาสตร์.กำแพงเพชร :คณะครุศาสตร์.

มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ,

วิจารณ์ พานิช. (2555). ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน. [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 15ธันวาคม 2556]. จาก http://www.gotoknow.org/posts/502617

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์และดารณี คำวัจจัง. (2546). สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพ ฯ :บริษัทเมธีทิปส์จํากัด.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2549). “Blended Learning : การเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค ICT (ตอนที่ 2).” วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-ธันวาคม 2549 ข) :
48-56.

สํานักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.(2552). นโยบายของกระทรงศึกษาธิการ. [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2557]. จากhttp://www.ubu.ac.th/web/files_up/
46f2013061215384986.pdf

สุทิพย์ เป้งทอง. (2554). การพัฒนาตัวแบบการเรียนการสอนแบบพินส์-เว็บเควสท์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาทักษะทางการคิด. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Fredericks, J. A., Blumenfeld, P. C. & Paris, A. H. (2004). School engagement: Potential of the concept, state of the evidence. Review of Educational Research, 74(1), 59-109.

Harris, L. R. (2008). A Phenomenographic Investigation of Teacher Conceptions ofStudent Engagement in Learning. The Australian Educational Researcher,
5(1), 57-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24