การบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ณัฐกมล พัชรภิญโญพงศ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรม, กรมการท่องเที่ยว, แนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (3) ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนประสบความสำเร็จ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม) กลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑลอีก 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เก็บแบบสอบถามกลับคืนมาได้ จำนวน 893 ชุด/คน (N=893) คิดเป็นร้อยละ 88.59 ของประชากรทั้งหมด 1,008 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม เชิงคุณภาพคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดกาที่ยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.45, S.D.= 0.62) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 2.45, S.D.= 0.62) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของโรงแรมของกรมการท่องเที่ยวตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 2.54, S.D.= 0.58)

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, (2560). ยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2560 – 2564. กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว (2560). ประวัติกรมการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2560 จาก http://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/16/390.)

กรมสรรพากร (2560). รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอหักลดหย่อนค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สำหรับปีภาษี 2559 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมาณฑล สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2560 จาก http://www.rd.go.th/publish/44132.0.html.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564) คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.

เจิมขวัญ ศิริพงศ์สินและวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560) การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนของเทศบาลในจังหวัดลพบุรีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. (7) 2 หน้า : 148-156.

จิตราภรณ์ เตชาชาญ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดขอนแก่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (6) 2 หน้า 86-97.

ไชยรัตน์ อุดมกิจปัญญาและวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการแข่งขันของการกีฬาแห่งประเทศไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง . วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ : (7)2 หน้า 157-164.

ธเนศ ทวีบุรุษ (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนชะแล้ตำบลำชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นายปัณณทัต นอขุนทด, (2556) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา .หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธ. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560) ศักยภาพในการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิด PANT-ITERMS. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. (14) 1 หน้า 108-121.

อรวรรณ ป้อมดํา. (2558) การจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ .(5) 3 หน้า 221-232.

Creswell and Vicki L. Plano Clark (2011: 174-175). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.)

Ernest L. Cowles and Edward Nelson. (2015, pp. 13-34). An Introduction to Survey . New York: Business
Expert Press, LLC.

Greg Guest, Emily E. Namey, and Marilyn L. Mitchell). 2013: 47). Collecting Qualitative Data: A Field Manual for Applied Research. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.)

Michael Nir. (2014). Leadership: Building Highly Effective Teams, How to Transform Teams into Exceptionally Cohesive Professional Networks. Third Edition. Boston, Massachusetts: Sapir Consulting US., L.L.C.

Raymond Meredith Belbin. (2010). Management Teams: Why They Succeed or Fail. Third Edition. Burlington, Massachusetts: Elsevier.

Patrick Biernacki and Dan Waldorf. (1981) "Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling", Sociological Methods & Research, 10, 2 (1981): 141-163.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25