สื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
สื่อประชาสัมพันธ์, ความเป็นจริงเสริม, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ประเมินความพึงพอใจสื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.3,S.D.= 0.5) โดยมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมอยู่ในระดับมาก (= 4.3,S.D.= 0.5) ความพึงพอใจด้านการออกแบบและตัดต่อของสื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมอยู่ในระดับมาก (= 4.3,S.D.= 0.5) และความพึงพอใจด้านแอปพลิเคชันของสื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริมอยู่ในระดับมาก (= 4.2,S.D.= 0.5)
References
ธารทิพย์ เสริมทวัฒน์(2550) ทัศนศิลป์ : การออกแบบพาณิชยศิลป์ กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรพงษ์ วรชาติอุดมพงศ์(2540) บทความรู้ทางการออกแบบพาณิชยศิลป์ : ออกแบบกราฟิก
ณัฏฐา ผิวมา ปริศนา มัชฌิมา(2559) การพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาในหัวข้อการทาบาตรของชุมชนบ้านบาตร สืบค้นจาก: https://goo.gl/hYZf1c
นิติศักดิ์ เจริญรูป การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนาเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย สืบค้นจาก: https://goo.gl/K39WEm
ธีระ ศิริเจริญ(2556) การพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อส่งข้อมูลจุดที่สนใจ และการกำหนดขอบเขตการค้นหาสำหรับเทคโนโลยีเออาร์บนโทรศัพท์มือถือ สืบค้นจาก: https://goo.gl/FnXyv8
Kysela, J. & Storkova, P. (2015). Science Direct Using Augmented Reality as a Medium for Teaching History and Tourism. Procedia - Social and Behavioral Sciences สืบค้นจาก: https://goo.gl/EZM9Cp
Jung, T., Chung, N. & Leue, M. (2015). The Determinants of Recommendations to Use Augmented Reality Technologies - The Case of a Korean Theme Park, Tourism Management. สืบค้นจาก: https://goo.gl/PKySNL
Murat, A., Gokce, A., & Huseyin, M.P. (2016). Augmented reality in science laboratories: The effects of augmented reality on university students’ laboratory skills and attitudes toward science laboratories. Computers in Human Behavior สืบค้นจาก: https://goo.gl/M3RpaM