การศึกษาประสิทธิผลของสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ของสำนักงานประกันสังคม
คำสำคัญ:
สื่อโปสเตอร์, อินโฟกราฟิก, ออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบ ออนไลน์ของสํานักงานประกันสังคมต่อความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานและสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นผู้ประกันตน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบที่มีต่อสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ ของสํานักงานประกันสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติ Dependent Samples t-test และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกันตนมีความเข้าใจในด้านเนื้อหาภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.14, S.D = 0.45) และเข้าใจในด้านการการออกแบบภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.37, S.D = 0.46) ผลการเปรียบเทียบความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบของสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกแบบออนไลน์ของสํานักงานประกันสังคม พบว่า เพศหญิง มีความเข้าใจในเนื้อหาและการออกแบบมากกว่า เพศชาย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจ ในเนื้อหาและการออกแบบไม่แตกต่างกัน
References
การสื่อสาร,ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ [online] (2554). สืบค้นจาก : http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=การสื่อสาร_(Communication) (8 กุมภาพันธ์ 2561).
เครจซีและมอร์แกน(2555) การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (online), สืบค้นจาก : http://www.ipernity.com/blog/248956/429637, (20 ธันวาคม 2559).
จุติพงศ์ ภูสุมาศ (2560).Principles Infographic ,ครั้งที่ 1.2560.นนทบุรี : ไอดีซีฯ, 2560.
จงรัก เทศนา,ทำไม ต้องอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) (online) ,2558, สืบค้นจากhttp://www.krujongrak.com/ infographics (19 พฤศจิกายน 2559).
นัจภัค มีอุตสาห์,(2556) อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพอินโฟกราฟิก, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2556.
Hyperakt’s Josh Smith (2558) ,กระบวนการที่ดีในการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographics) 9 ขั้นตอน [online] , สืบค้นจาก https://www.learningstudio.info/infographics-design/ (19 พฤศจิกายน 2559).
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (online) ,(2558). สืบค้นจาก : http://www.sso.go.th/hospital/content.jsp , 235 (8 กุมภาพันธ์ 2561).
สำนักงานประกันสังคม,สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ (online) (2561), สืบค้นจากhttps://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม (8 กุมภาพันธ์ 2561).
สำนักงานประกันสังคม,สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน (online) (2561). สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม (8 กุมภาพันธ์ 2561).
สำนักงานประกันสังคม,สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย (online) (2561). สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม (8 กุมภาพันธ์ 2561).
นฤมล ถิ่นวิรัตน์ (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน : กรณีศึกษาโครงการ "รู้สู้ flood", วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์, มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ภาณุพงศ์ จันทน์ผลิน (2557) “การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบอินโฟกราฟิก สำหรับนักเรียนฝีกอาชีพ โรงเรียนพระดาบส” วิทยานิพนธ์เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง (2554). การใช้เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Online) , สืบค้นจาก : http://www.kroobannok.com/blog/43535,(15 ธันวาคม 2559).
Benbasat, Izak, Albert S. Dexter, and Peter Todd (1986) "The influence of color and graphical information presentation in a managerial decision simulation,"Human-Computer Interaction, vol. 2.1, pp. 65-92,
Best, John W.(1981). Research in Educations. New Jersey : Prentice Hall, Brooks Cole Publishing,1968. (20 ธันวาคม 2559).
B.I.U. Dur (2012(. “Analysis of Data Visualizations in Daily Newspapers in Terms of Graphic Design.” Procedia-Social and Behavioral Sciences. Available (Online), สืบค้นจาก : http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812032971