การพัฒนาหลักสูตรค่ายเยาวชนอนุรักษ์พืชสมุนไพร ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านปลื้มพัฒนา อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, กระบวนการมีส่วนร่วม, ค่ายเยาวชนอนุรักษ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาค่ายเยาวชนอนุรักษ์พืชสมุนไพรให้เด็กในชุมชน โดยใช้ความรู้ด้านพืชสมุนไพรในป่าชุมชนบ้านปลื้มพัฒนา ขั้นตอนการวิจัยมี 1. เตรียมการพัฒนาค่ายเยาวชนอนุรักษ์พืชสมุนไพร จัดสนทนากลุ่มกับหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน สมาชิกและผู้นำชุมชน เพื่อสำรวจความต้องการจำเป็นในการจัดค่ายเยาวชนอนุรักษ์พืชสมุนไพรให้กับเด็กในชุมชน 2. ขั้นพัฒนาค่ายเยาวชนอนุรักษ์พืชสมุนไพร กำหนดวัตถุประสงค์ ความคิดรวบยอดเนื้อหาความรู้ และการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ สร้างเครื่องมือวัดและการประเมินผล 3. ดำเนินการจัดค่ายกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ระยะเวลา 2 วัน โดยทดสอบความรู้ และวัดเจตคติ แล้วนำผลการทดสอบความรู้มาทดสอบค่าที (t-test) และนำผลการวัดเจตคติมาทดสอบลำดับเครื่องหมายของวิลคอกซ์สัน (The Wilcoxon Matched Pairs test) โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่าหลังการเข้าค่ายนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการมีเจตคติด้านการอนุรักษ์พืชสมุนไพรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมค่าย รายการประเมินส่วนมากมีผลการประเมินในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
References
Encyclopedia of Royal Academy No.21. (1987). Bangkok: Thaimitr-printing.
Jaiaree, A. (2011). Development of the community forest conservation youth camp curriculum with the local participation for Ban Pu-Tei, Tambol Ta Sao, Amphoe Saiyok, Changwat Kanchanaburi. Kamphaengsean Acad. J. Vol. 3, No. 3, 55-71
Jieeiset, C. (2011). Curriculum support activity on energy and environmental conservation: A case study of Kulno school, Nakhornratchasima province. Master of engineer degree. Srinakharinwirot university.
Meechana, C. (2004). The development of youth camp curriculum on mangrove forest conservation. Master of education (Environmental education). Mahidol university.
Office Protection and Promotion of Traditional Thai Medicine. (2013). Management Plan for Herb Protection in Protected Areas 2013-2015 (Short term plan).
Phanijchanont, S. et al. (2011). Participation in sufficiency economy project and change in environmental concern and conservation behavior among Thai–Karens in Pa La-U Village. Journal of environment. Vol. 7, No. 59-74
Phongpanngam, S. (1996). The development of the model for organizing natural conservation youth camp. Mahidol university.
Semakhun, C. (2009). Research and development model (Research and Development: R&D). Science Journal, 10, 97–104.