องค์ประกอบหลักการจัดเก็บภาษีที่ดีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ รังคสิริ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สวัสดิ์ วรรณรัตน์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดเก็บภาษีที่ดี, สรรพากรพื้นที่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดเก็บภาษีอากรที่ดีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 335 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจัดเก็บภาษีเป็นธรรมอย่างชัดเจน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยอื่นมีคะแนนรองลงมาประกอบด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมืออาชีพในการจัดเก็บภาษี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารและปรับปรุงการจัดเก็บภาษี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาระบบข้อมูลที่ทันสมัย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งจัดเก็บภาษีในอนาคต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามลำดับ

References

กรมสรรพากร. 2558. ยุทธศาสตร์กรมสรรพากร 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://download.rd.go.th/fileadmin/download/plan/RD2020.pdf (13 กันยายน 2559).

กรมสรรพากร. ผลการจัดเก็บภาษี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.rd.go.th/publish/310.0.html (13 กันยายน 2559).

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. 2546. การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 89/2558 วันที่ 22 ตุลาคม 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://www2.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=10040
(25 กรกฎาคม 2560).

ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 140/2559 วันที่ 19 ตุลาคม 2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.mof.go.th/home/Press_release/News2016/140.pdf (25 กรกฎาคม 2560).

ชุตินันท์ ตันรุ่งเรืองพร.2545. การศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของหน่วยการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณรงค์ เขมวิรัตน์. 2539. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของเทศบาล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ ชัยพัฒน์. 2546.ปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบการกำกับดูแลผู้เสียภาษีของสำนักงานสรรพากรจังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ภาวนา ธรรมศาลา. 2551. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการสำนักงานบริการขวัญใจประชาชน.(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.rd.go.th/region7/fileadmin/user_upload/internet/Pak7/Off_service/follow/ideaO ffService.pdf (4 สิงหาคม 2560).

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. 2516. ทฤษฎีการภาษีอากร. เคล็ดไทย, กรุงเทพฯ.

วรกาญจน์ สุขสดเขียว. 2550. รูปแบบภาษีเพื่อการศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วาสนา ขอนทอง. 2553. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

วินัย เนื้อนาจันทร์. 2559. ภาษีอากร. เอกสารประกอบการเรียนการสอน. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ศศิกานต์ จัตุปา. 2557. การบริหารจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ของกรมสรรพากร. วารสารนักบริหาร Executive Journal. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปีที่ 34 : 40-50.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูลhttp://dwfoc.mof.go.th/Dataservices/GovernmentRevenue. (25 กรกฎาคม 2560).

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD). 2013. . (Online). Available:http://www.oecd.org/tax/tax-policy/tax-database.htm (10 November 2015).

อรัญ ธรรมโน. 2512. การคลัง. โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต, กรุงเทพฯ.

Abiola J., and Asiweh M. 2012. Impact of Tax Administration on Government Revenue in a Developing Economy –A Case Study of Nigeria. International Journal of Business and Social Science. Vol.3 No.8: 99-113.

Feld, P.Lar , F. Bruno and T. Benner. 2006. Rewarding honest taxpayers? Evidence on the impact of rewards from field experiments. Working paper No. 2006-16. (Online). Available: www.researchgate.net (2 September 2016).

Hsiao C.T., Lin J S, and Shan, C. 2008. A study of service quality in public sector. International Journal of Electronic Business Management. (6): 29-37.
Inland Revenue Board of Malaysia. (2013) สืบค้นจาก http://www.hasil.gov.my/index.php?bt_lgv=2 (10 November 2016).

Jump, N. 1978. Psychometric Theory (2nd ed.). McGraw Hill, New York.

Palil, M., Akir, M. and Ahmad, W. 2013. The perception of tax payers on tax knowledge and Tax education with level of tax Compliance: a study they influences of religiosity. Universiti Kebangsaan Malaysia. ASEAN Journal of Economics, Management & Accounting 1(1): 118-129.

Shahroodi, S. 2010. Investigation of the effective factors in the efficiency of tax system. Journal of Accounting and Taxation Vol. 2(3): 42-45.

Thompson, Steven K. 1990. Adaptive Cluster Sampling. The American Statistical Association, 85(412): 1050 – 1059.

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Harper and Row Publication, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26