การลดความเสี่ยงและการป้องกันปัญหาสินค้าขาดมือของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์

ผู้แต่ง

  • ธนากร ผลภาษี คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การลดความเสี่ยง, การป้องกันปัญหา, สินค้าขาดมือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอเรื่องการลดความเสี่ยงและการป้องกันปัญหาสินค้าขาดมือของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการศึกษา ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อนำมาคำนวณหาค่าพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อ โดยใช้การคำนวณโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบ Moving Average และทำการเพิ่มค่า Safety Stock จำนวน 20% เพื่อนำค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ได้นั้น นำมาใช้ในการวางแผน การพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาสินค้าขาดมือของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความเสี่ยงของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม วิธีการในการป้องกันความเสี่ยงส่วนมากผู้ประกอบการจะมีแนวทางในการลดความเสี่ยงโดยเน้นในเรื่องของการลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในโซ่อุปทานมากที่สุดรองลงมาคือเน้นเรื่องของการลดผลกระทบของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เป็นการลดปัญหาสินค้าขาดมือและลดค่าเสียโอกาสทำให้บริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามเวลาเพื่อตอบความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลา ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในบริษัทเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะใช้โอกาสนี้เองในการขยายฐานลูกค้าออกไปควบคู่กับการหาลูกค้ารายใหม่ของอุตสาหกรรมรถยนต์

References

ปณิดา เรือนนิล. (2559). การลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผน การพยากรณ์ และเติมเต็มสินค้าร่วมกัน กรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ลำเลียงสินค้าอากาษยาน. งานนิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พัชราภรณ์ เนียมมณี และ วลัยลักษณ์ อัตรธีรวงศ์. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์. รายงานฉบับสมบูรณ์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์ และคณะ. (2545). การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. กรุงเทพ ฯ: ธรรกมล การพิมพ์.

วิชัย ไชยมี. (2552). การจัดการโซ่อุปทานและดำเนินงาน. นนทบุรี: ทีพีไอเอ็ม.

Christopher, M. (2005) Logistics and Supply Chain Management: CreatingValue-Adding Networks, 3rd ed., FT Prentice-Hall, Harlow.

Christopher, M. and Peck, H. (2004) Building the resilient supply chain. International Journal of Logistics Management, Volume 15, Issue 2, Pages 1-19.

Frosdick, S. (1997) The techniques of risk analysis are insufficient in themselves. Disaster Prevention and Management, Volume 6, Issue 3, Pages 165-177.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28