การพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬาสังกัดสถาบันการพลศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนากลยุทธ์, องค์การแห่งการเรียนรู้, คุณภาพผู้เรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ด้านการพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนากลยุทธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬาสังกัดสถาบันการพลศึกษา3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬา โดยใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนาที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลผสมผสานระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรในโรงเรียนกีฬาสังกัดสถาบันการพลศึกษา จำนวน 569 คน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครูวิชาสามัญ ครูวิชากีฬา และเจ้าหน้าที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 และมีค่า IOC ระหว่าง 0.90 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร (Correlation Analysis) การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis : MRA)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการณ์ด้านการพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬา มีสามองค์ประกอบหลักคือ การพัฒนากลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 3.96 องค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 3.99 และคุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวม 3.93 มีองค์ประกอบย่อยที่มีระดับการดำเนินการในระดับมากทุกด้าน ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสามด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แนวทางการพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬาสังกัดสถาบันการพลศึกษา การพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียนไปในทิศทางเดียวกันและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากลยุทธ์และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนกีฬา พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนเห็นด้วยและเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียนกีฬาสังกัดสถาบันการพลศึกษา
References
จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคน บนความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เต๋า (2000).
โชติ แย้มแสง. (2557). สาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วิทยาลัยคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร: วารสารคุรุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558. หน้า 95 -111
เลขาธิการสภาการศึกษา, สํานักงาน. (2552). เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) เข้าถึงได้จาก: http://www.onec.go.th. (สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559)
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พัชรินทร์ ศรีสุพรรณ. (2551). การพัฒนาแนวทางการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิจารณ์ พานิช. (2550). การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
สมพงษ์ ลาสอน. (2551). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมรูปแบบความคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขา การบริหารการศึกษา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
สุชาติ ธาดาธำรงเวช. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Hoy, Wayne K. & Cecil G Miskel. (2001). Education Administration : Theory, Research and Practice.6th ed. New York : McGraw-Hill
Kotler, P. & Murphy, P.E. (1981). Strategic Planning for Higher Education. Journal of Higher Education, 52(5), pp. 470-489.
Marquardt & Reynolds. (1994). Building the Learning Organization. New York: McGraw - Hill.
Pearce, J.A & Robinson, R.B. (2000). Strategic management. NJ : McGraw-Hill.
Rosemary and Whitlatch, Jo Bell. (1996). “Patron Online Catalog Success”,College & Research Libraries. 6 (November), 479-497.
Senge, P.M. (1990). The fifth discipline challenge :Mastering the twelve challenges to change in a learning organization. New York: Doubleday.