วัฒนธรรมทางการเมืองกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ ประจวบสุข หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ธรรมนิตย์ วราภรณ์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม, การพัฒนาประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นที่มีต่อวัฒนธรรมทางการเมืองกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่และการพัฒนาประชาธิปไตยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมทางการเมืองกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมและการพัฒนาประชาธิปไตยจากความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 317 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐานและการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยโปรแกรมสำเร็จรูป  ผลการวิจัย พบว่าพบว่าแบบสอบถามงานวิจัยเชิงปริมาณฉบับนี้มีความตรงเชิงโครงสร้างเมื่อนำไปทดสอบตามเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) โดยมีค่าความเหมาะสม KMO อยู่ที่ .74-86 ของทั้งสามกรอบแนวคิดวิจัยมีค่ามากกว่า .50 ถือว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์ในระดับที่เหมาะสม แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่า Cronbach's Alpha ทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้เป็นแบบพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณรวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมทางการเมืองกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยอิทธิพลประกอบด้วย วัฒนธรรมทางการเมืองด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบ ด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม ด้านการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว ด้านการกระทำการรวมหมู่ที่มีจุดมุ่งหมาย ด้านการระดมมวลชน มีสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์ร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลจากการสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน มีความสอดคล้องไปในทิดทางเดียวกันกับการวิจัยเชิงปริมาณ

References

กรภัค จ่ายประยูร. (2549). การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจภาคประชาชนด้านความเป็นประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2557). บทบาทสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมืองในการพัฒนาประชาธิปไตย : ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข,ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2557.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ ราชโคตร์. (2552). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

เกษียร เตชะพีระ. (2547). “วัฒนธรรมการเมืองอำนาจนิยมแบบเป็นปฏิปักษ์กับการปฏิรูปภายใต้ระบอบทักษิณ” ในอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร: บทสะท้อนวัฒนธรรมอำนาจนิยมในสังคมไทย (สมชาย หอมลออ, บก). กรุงเทพฯ: คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน.

จรัส สุวรรณมาลา. (2551). คู่มือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณสำหรับสมาชิกรัฐสภา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

จรัส สุวรรณมาลา. (2550). วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย, วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5 (3).

จุมพล หนิมพานิช. (2548). พัฒนาการทางการเมืองไทย: อำมาตยาธิปไตยธนาธิปไตยหรือประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). วัฒนธรรมทางการเมืองและการพัฒนาระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 1(1).

ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). การเมืองไทยและประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 11 (2) .

แววดาว พรมเสน. (2554). การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2554, หน้า 95 – 102.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2554). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ - สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ พิมพ์ครั้งที่ 22/2554.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2551). ปัจจัยภูมิหลังวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำเยาวชนไทย, รายงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

Almond, G. A. (1956). “Comparative Political System”. Journal of Political. 18. (August): 398.

Almond, G. A., & Verba S. (1965). The Civic Culture. Boston: Little, Brown and Company Inc.

Almond, G. A., & Powell, B.G. (1976). Comparative Politics: A Development Approach. Boston: Little Brown and Company.

Almond, G.A., & Powell, B.G. (1980). Comparative Political Today: A View. Boston: Little Brown and Company.

Albert, C. (1966). Resistance, Rebellion and Death. New York: Alfred A. Knopf.

Anirudh, K. (2008). Poverty, Participation, and Democracy: A Global Perspective. New York: Cambridge University Press. 189 p.

Beckers, S. (2007). Political Culture: differences in East and West Germany, Thesis of Oregon State University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, Third Edition, New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28