วัฒนธรรมการเมืองและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

ผู้แต่ง

  • ศราวดี สุริทรานนท์ หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ธรรมนิตย์ วราภรณ์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมการเมือง, เครือข่ายสังคมออนไลน์, การพัฒนาประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับของวัฒนธรรมการเมืองและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการเมืองและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย 3)เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมการเมืองและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย โดยใช้ประชากรในการวิจัยในเขตจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และขอนแก่น จำนวน 356 คน แบบสอบถามงานวิจัยเชิงปริมาณฉบับนี้มีความตรงเชิงโครงสร้างเมื่อนำไปทดสอบตามเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) โดยมีค่าความเหมาะสม KMO อยู่ที่ .45-79 ของทั้งสามกรอบแนวคิดวิจัยมีค่ามากกว่า .40 ถือว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์ในระดับที่เหมาะสม แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่า Cronbach's Alpha ทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้เป็นแบบพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุการหาค่าความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวอยู่ในระดับมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 การหาค่าสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์ร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนงานวิจัยเชิงปริมาณไปในแนวทางเดียวกันแล้วนำมาวิเคราะห์ผลเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ก่อนนำไปพัฒนาเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน เพื่อนำมาสรุปผลวิจัยซึ่งพบว่าแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมการเมืองและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทยประกอบด้วยอิทธิพลด้านการมีปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ด้านการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ด้านการสื่อสารภายในเครือข่ายด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบพลเมือง ด้านการมีสมาชิกของเครือข่าย ด้านชนิดเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าได้รับการยืนยันในลักษณะที่สอดคล้องกันของคำให้การสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลหลัก การสนับสนุนงานวิจัยเชิงคุณภาพไปในแนวทางเดียวกัน

References

กองบรรณาธิการ. (2554). กองบรรณาธิการ พฤติกรรมออนไลน์ของชาวอาเซียน.ที่มาจาก http://www.positioningmag.com/search/default.aspx.

กิตติม์ บุญชูวิทย์. (2547). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย, วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 12(2).

กังสดาล ศิษย์ธานนท์ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิตรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย, วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1).

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยาณี เกตุแก้ว. (2558). เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการเปิดพื้นที่รูปแบบใหม่ให้กับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ในอินโดนีเซีย, วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 8(8).

เกศริน แสงจันทร์เรือง. (2554). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทางสังคม (กรณีศึกษา:การใช้ Facebook.com มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิษณุ เครืองาม. (2552). หลักนิติธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ, คำบรรยายในที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง.

วิสุทธิ์ โพธิแทน. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยขั้นพื้นฐานทางสังคมศาสตร์, เอกสารประกอบการบรรยาย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีเฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(4), 195 – 205.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จสุปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน, Princess of Naradhiwas University Journal, ฉบับพิเศษ.

ราตรี รัศมีดิษฐ์. (2558). วัฒนธรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลตำบล ห้วยกะปิ, วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษา, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(2), 7-20.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2551). สภาพัฒนาการเมือง : วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปีที่ : 6 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า : 5-17 ปีพ.ศ. : 2551.

ลิขิต ธีรเวคนิ . (2552). การเมืองไทยและประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). วัฒนธรรมทางการเมืองและการพัฒนาระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 1(1).

Almond, G. A. (1956). “Comparative Political System”. Journal of Political. 18. (August) : 398.

Almond, G. A. & Verba, S. (1965). The Civic Culture : Political Attitude and Democracy in Five Nations. Boston : Little Brown and Company.

Allen, K. (2005). Explaining Cronbach's alpha, Informal presentation given during.

Albert, C. (1966). Resistance, Rebellion and Death. New York: Alfred A. Knopf.

Anirudh, K.(2008). Poverty, Participation, and Democracy: A GlobalPerspective. New York: Cambridge University Press. 189 p.

Baker, S. (2009). Beware social media snake oil. Thailand Business week. Retrieved From http://www.businessweek.com/magazine/content/09_50/b415904835.

Beckers, S. (2007). Political culture: differences in East and West Germany, Thesis of Oregon State University.

Coleman, S. (2005). New mediation and direct representation: reconceptualizingrepresentation in the digital age. University of Oxford.

Cullhaj. F. (2017). Political culture and democratic consolidation in post-communist Albania: reassessment of the authentic domestic values, POLIS/NR, 16.

Dhillon, H.K., & Zaini, M.Z.A., & Quek, K.F., Sing, & H.J., Kaur, G., & Rusli, B.N. (2014). Exploratory and confirmatory factor analysis for testing validity and reliability of Malay language questionnaire for Unnary inconference diagnosis (QUID), Open Journal of Preventive Medicine, 4 (11), 844-851.

Dutton, H .W. (2004). The Social Shaping of a Virtual Learning Environment: TheCase of a University-wide Course Management System.Oxford Internet Institute, University of Oxford, UK.

Verba, S. (1965). “The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in. Five Nations.

Yu, T., & Richardson, J.C. (2015). An exploratory factor analysis and reliability analysis of the student online learning readiness (SOIR) instrument, Online Learning, 19(5), 120-141.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, Third edition, New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28