การพัฒนารูปแบบ The STUDIES model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และ การจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของ The STUDIES model 2) ประเมินประสิทธิผลของ The STUDIES model ดังนี้ 2.1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้เรื่อง การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ The STUDIES model 2.2) ศึกษาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ The STUDIES model และ 2.3) เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ The STUDIES model 2.4) ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบ The STUDIES model กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม คือ นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เรียกว่า The STUDIES model แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการเขียนแผนการเรียนรู้และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ มีชื่อว่า รูปแบบ The STUDIES model มี 7 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (S) 2) วิเคราะห์ภาระงาน (T ) 3) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (U) 4) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (D) 5) การบูรณาการความรู้ (I) 6) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (E) และ 7) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (S) รูปแบบการเรียนรู้ The STUDIES model มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.56 / 80.06 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ The STUDIES model มีดังนี้ 2.1) นักศึกษาวิชาชีพครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบ The STUDIES model อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) นักศึกษาวิชาชีพครูส่วนใหญ่มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับดี/สูง คือ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ในระดับสร้างสรรค์สิ่งใหม่(Creative-Generative) 2.3) นักศึกษาส่วนใหญ่มีความสามารถในการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ใน ได้ในระดับพอใช้/ปานกลาง คือ ขั้นปรับประยุกต์ใช้(Meditative) การปฏิบัติได้บางส่วนยังไม่ครบถ้วนตามรูปแบบ The STUDIES Model 3. ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบ The STUDIES model โดยภาพรวมเห็นด้วยในระดับมาก โดยด้านประโยชน์ที่ได้รับ เห็นด้วยในระดับมากที่สุด รองลงมาเห็นด้วยในระดับมาก ด้านบรรยากาศ และด้านกิจกรรม ตามลำดับ
References
นฤมล ปภัสสรานนท์ (2561) การพัฒนารูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta cognition สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561 หน้า 92 - 109
สุจิตรา ปันดี (2559) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อส่งเสริมความสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาครู วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2559 หน้า 1382 – 1398
สุเทพ อ่วมเจริญ วัชรา เล่าเรียนดี และประเสริฐ มงคล (2559) “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559) หน้า 28-46
Bel E. and Mallet M.(2006).Constructionist Teaching in The Digital Age- A Case Study. IADIS International Conference on Cognition and Exploratory Learning in Digital Age (CELDA 2006) : 371-375.
Creemers Bert P.M. (2005). Combining Different Ways of Learning and Teaching in a Dynamic Model of Educational Effectiveness. .[Online]. Retrieved June 26, 2015, from http://www.rug.nl/staff/b.p.m.creemers/combining_different_ways_of_learning_and_teaching_in_a_dynamic_model_of_educational_effectiveness.pdf
Marzano Robert J (2012) Classroom instructional that work : Research based strategies for increasing student achievement. Alexandia VA : ASCD
Tuckman, Bruce W. (1999). Conducting Education Research. New York : Harcourt Brace Jovanovich Inc.
Wiggins G and Mctighe, J (2003) Understanding by Design Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall