การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นัทฐิลาวัลย์ จรัสวิชากร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การเพิ่มขีดความสามารถ, บริหารจัดการ, การให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา แนวทาง และแนวโน้มการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารจัดการเพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาการเพิ่มขีดความสามารถมีผลต่อการบริหารจัดการเพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ค้าในแผงค้าในตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) ที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,603 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณด้วยสูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 98% การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยและผู้ช่วยอีก 5 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธ์การถดถอย สรุปผลการวิจัย พบว่า การเพิ่มขีดความสามารถมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารจัดการเพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร มีนัยสำคัญทางสถิติ การเพิ่มขีดความสามารถมีผลต่อการบริหารจัดการเพื่อให้บริการจัดเก็บขยะในตลาดของกรุงเทพมหานคร มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมควบคุมมลพิษ (2560).รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พ.ศ 2559 . สำนักงานจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ.

ชัยพร ศรีวัฒนวิบูลย วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการรักษาความสะอาดตลาดของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา.ระดับชาติและนานาชาติ 2560 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิชชา บูรณสงห์ (2558). การบริหารจัดการขยะ : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลากรุงเทพมหานคร.สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษธร.

นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร.( 2528). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 31 สิงหาคม 2528.

ทิวา ประสุวรรณ ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ ดารากร เจียมวิจักษณ์ ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์. (2559) การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ . (11) 1หน้า 5-61.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557) การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

มาลัย โห้ประเสริฐ. (2557) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลทับมาอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. การค้นคว้าอสิระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี ศุภวรรณ ภิรมย์ทอง (2559). การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาตร์วิชาการ.(8)2 หน้า 7-29.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร พระครูสาครวิมลกิจ โตกราน และ มนัสชนก อาจบำรุง.(2559) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3.

วัชรี มนต์ขลัง ทรงศักดิ์ จีระสมบัติ สมเกียรติ เกียรติเจริญ และ ยุภาพร ยุภาศ (2556). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. ว.มรม. (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) (7)1 หน้า 179-185.

วีรกาล อุปนันท์. (2556) การศึกษาแนวทางการกำจัดขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนยอ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. หลักหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร 2559).สถิติตลาดในกรุงเทพมหานคร. สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร.

Yamane, Taro.(1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.

Mirela-Cristina, V. (2011). "Using the Snowball method in Marketing Research on Hidden Populations”.

Challenges of the Knowledge Society. 1 (2011): 1341-1351.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29