การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายป้องกันยาเสพติดของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ศรีศุภางค์ มอฤทธิ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การเพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายป้องกันยาเสพติด, เทศบาลในจังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ(2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและ (3)เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายป้องกันยาเสพติดของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรีแนวคิดการบริหารจัดการ ITERMS 6 การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสม เครื่องมือเชิงปริมาณที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่ตอบแบบสอบถามในเขตพื้นที่เทศบาลนครนนท์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 644คน และเทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 464 คนรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน1,108 คนและเก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน1,071คน (n=1,071) คิดเป็นร้อยละ 96.66ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,108 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์การถดถอยสรุปผลการวิจัย พบว่าปัญหาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายป้องกันยาเสพติดของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.68, S.D.= 0.53)แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายป้องกันยาเสพติดของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับมาก ( = 2.43, S.D.= 0.35)ยุทธ์ศาสตร์การบริหารจัดการ ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยีด้านสถานะเศรษฐกิจด้านทรัพยากรมนุษย์ด้านคุณธรรมด้านสังคม มีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายป้องกันยาเสพติดของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรีได้แก่ด้านประโยชน์สุขของประชาชนด้านการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจด้านการมีประสิทธิภาพด้านการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการปรับปรุงภารกิจให้ทันต่อสถานการณ์ ด้านการอำนวยความสะดวกด้านการประเมินผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมการปกครอง. (2561). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561. จาก www.stat.dopa.go.th

กองกฎหมายสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงยุติธรรม. (2560). รวมกฎหมายยาเสพติดพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 (แก้ไขล่าสุด พ.ศ. 2560) และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

กำพล มหานุกูล และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). การบริหารจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (2) หน้า 163-183.

ชนิศฏ์สรฐ์ สืบสังข์ และ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2558) "การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.5 (3) หน้า 106-117.

ดวงตา สราญรมย์ และวรุณี เชาวน์สุขุม. (2558). "การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557",วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (2), หน้า 135-145.

เดลินิวส์ออนไลน์ (2561). ตะลึงจับยาบ้า-ไอซ์บิ๊กลอต 4 พันล้านซุกบ้านนนทบุรี. สืบค้นวันรที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.dailynews.co.th/crime/ 615887.

เบญจวรรณ เปรมประยูร และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). "การบริหารจัดการการเก็บขยะของเทศบาลในจังหวัดกาญจนบุรีตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง", วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6 (3) หน้า 183-191.

เทศบาลนครนนทบุรี 2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561จากhttp://nakornnont.go.th/

พีระพจน์ ระหว่างบ้าน. (2557). ขีดความสามารถการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดด้านยาเสพติดให้โทษของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E- Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 7 (2) หน้า 639-650.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก 9 ตุลาคม 2546.

มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการรับรู้ความเข้าใจของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 – 65 ปี ใน 15 จังหวัดทั่วประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ.

ยุทธพงศ์ ทิพย์วงศ์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2558). "ประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาบุคลากรของกรมการ พัฒนาชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง", วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 5 (3) หน้า 77-86.

ระพีพันธ์ โพนทอง, พรนภา เตียสุธิกุล และภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2559). ผลการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. 6 (2) หน้า 41-53.

วีณา วิจัยธรรมฤทธิ์. (2559). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามแนวคิดตะวันออก. รัฐสภาสาร 64 (10) หน้า 61-80.

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2560). มอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาจังหวัดตามวาระ “นนทบุรี 4.0”. นนทบุรี: สำนักงานจังหวัดนนทบุรี.

สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี. (2560). รายงานผลสถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดนนทบุรีพ.ศ. 2560 ไตรมาสที่ 1 (มกราคม– มีนาคม 2560). นนทบุรี: สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี.

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2560: 1). มอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาจังหวัดตามวาระ “นนทบุรี 4.0”. นนทบุรี: สำนักงานจังหวัดนนทบุรี

Biernacki, P. and Waldorf, D. (1981) Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling. Sociological Methods & Research, 10, 141-163

Ernest L. Cowles and Edward Nelson. (2015). An Introduction to Survey Research. New York: Business Expert Press, LLC.

Greg Guest, Emily E. Namey, and Marilyn L. Mitchell. (2013). Collecting Qualitative Data: A Field Manual for Applied Research. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.

John W. Creswell and Vicki L. Plano Clark. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.

Osborne, D. &Gaebler, T. (1992). Reinventing Government: How the entrepreneurial spirit is transforming the public sector. Massachusetts: Addision-Wesley Publishing Company.

Taro Yamane (2012). Mathematics for Economists: An Elementary Survey. Whitefish, Montana: Literary Licensing, LLC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26