อิทธิพลของคุณค่าร่วม การสื่อสาร พฤติกรรมไม่โกง ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในบริษัทที่จัดจำหน่ายอาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน

ผู้แต่ง

  • ปิยพรหม สมบูรณ์สุนิธิ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมบัติ ธำรงสินถาวร คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมไม่โกง, ความไว้วางใจ, ธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความไว้วางใจในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้บริโภค ในธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้บริโภค ในธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้บริโภคที่เคยเลือกซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ จังหวัดชลบุรีจำนวน 384 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยสั่งซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เพศหญิง มีการศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้10,000 – 20,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า มีเพียงตัวแปรด้านการรับรู้การส่งมอบสินค้าตามเงื่อนไขชำระเงิน และการรับรู้เว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ส่งผลต่อความไว้วางใจในเชิงบวกของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้บริโภค ในธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ชาคริต อ่องทุน และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในด้านเทคโนโลยีในการซื้อสินค้า และบริการผ่านเฟสบุ๊ค ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559).

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). ภัยไซเบอร์!! กรุงไทย-กสิกร โดนแฮกข้อมูลลูกค้า เข้มยกระดับป้องกัน. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2561 จากhttps://www.thairath.co.th/content/1345335.

ธัญนันท์วรเศรษฐพงษ์. (2558). ความไว้วางใจในธุรกิจ E-COMMERCE ของบริษัท LAZADA. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นิสา จันทร์หอม. (2558). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการกลังการขายต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจนำเข้าเครื่องมือแพทย์. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่8 ฉบับที่3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2558.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). เตือนภัยนักช้อปออนไลน์! ระวังเว็บไซต์ขายสินค้าปลอม ไม่ได้เงินคืนแถมสินค้าห่วย. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2561 จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/.

ภาวินีย์ หิ่งห้อย. (2559). การยอมรับเทคโนโลยี Facebook Live และความน่าเชื่อถือของเจ้าของ Page ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าบน Facebook. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภูติณัฐสุภาพร. (2558). การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อบริษัท แสงโสม จำกัด ของผู้ที่พักอาศัยในบริเวณตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนธิชา เจียมผ่อง. (2560). ผลกระทบของการรับรู้ถึงคุณภาพของข้อมูลสุขภาพออนไลน์ต่อความไว้วางใจ และการตั้งใจใช้งานเว็บไซต์สุขภาพของผู้สูงอายุ. Vol10 No 3 (2017): ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ( กันยายน– ธันวาคม 2560 ).

เรณุกา คุ้มทรัพย์สิริ. (2557). การรับรู้ด้านนวัตกรรมและการใช้กลุ่มบุคคลมีชื่อเสียงส่งผลต่อความไว้วางใจในตราสินค้าเครื่องสำอางไทยของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วราพร วรเนตร. (2553). การรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจ และความตั้งใจซื้อประกันภัยผ่านอินเตอร์เน็ต. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2552). การวางแผนด้านตัวอย่าง. ใน วุฒิชาติ สุนทรสมัย, การวิจัยการตลาดและระบบสารสนเทศทางการตลาด (หน้า 113-139). กรุงเทพ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2560). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี 2560. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2561 จาก http://chonburi.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=268%3A21-12-60&catid=102&Itemid=507.

Broekhuizen, T. &Huizingh, E. K.R.E. (2009). Online purchase determinants. Is their effect moderated by direct experience. Management Research News, 32(5), 440-457.

MakeWebEasy. (2558). ผู้บริโภคอยากได้อะไรจากเว็บไซต์ของกิจการ. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2561 จาก https://www.makewebeasy.com/blog/2015/05/website-2/.

Nader SohrabiSafa and MaizatulAkmar Ismail. (2013). A customer loyalty formation model in electronic commerce.Economic Modelling, 2013, vol. 35, issue C, 559-564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28