การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สราวุฒิ กันเอี่ยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหาร, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎี และบริบทการบริหารวิชาการของโรงเรียนทหารทั้งในและต่างประเทศ และนำมาสังเคราะห์ร่วมกับการบริหารวิชาการ ตาม พ.ร.บ.กระทรวงศึกษาธิการ ควรประกอบด้วยภารกิจหลักตามลำดับความสำคัญ และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเตรียมทหาร (หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหาร ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560, 2560) ได้แก่ 1. การพัฒนาหลักสูตร 2. การจัดการเรียนการสอน 3. การวัดผล และประเมินผลการเรียน 4. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา และจากการสังเคราะห์พบว่าทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills, 2007) ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ การเรียนวิชาพื้นฐาน (3Rs) (Reading Writing Arithmetic) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การติดต่อสื่อสาร (Communication) การทำงานเป็นทีม (Collaboration) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ได้นำไปใช้ในโรงเรียนทหารทั้งในและต่างประเทศ เช่นเดียวกับทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ การใช้ข้อมูล สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม (Communications, Information and Media Literacy) นอกจากนี้ยังพบว่า ทักษะชีวิตและอาชีพ คือ การใช้ชีวิตและการทำงานในโลกที่ล้วนเชื่อมต่อกัน มีความเป็นผู้นำ (Career and Learning Skills, Cross-cultural Understanding and Leadership) มีการนำไปใช้ในโรงเรียนทหารของประเทศไทย และทุกโรงเรียนทหารที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ในขณะที่การจัดการความเครียด (Management of Stress) และ การจัดการสถานการณ์วิกฤตภายใต้สภาพแวดล้อมที่กดดัน (Dealing with Crisis / Decision making under pressure in complex environment) นำไปใช้เฉพาะ Royal Military Academy Sandhurst เท่านั้น จากการสังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่าทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ที่น่าสนใจศึกษาและคลอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนทหารทั้งในและต่างประเทศเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเตรียมทหาร ที่จะนำมาเป็นกรอบในการวิจัยอย่างต่อเนื่องต่อไปประกอบด้วย 1. ทักษะการเรียนรู้ 2. ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ 3. ทักษะการติดต่อสื่อสาร 4. ทักษะการทำงานเป็นทีม 5. ทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 6. ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี 7. ทักษะในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 8. ทักษะผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 9. ทักษะการคิดยืดหยุ่นและการปรับตัว 10. ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้สังคมข้ามวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ากรอบแนวคิดนี้มีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนเตรียมทหารซึ่งจะต้องเจริญเติบโตขึ้นเป็นนายทหารและนายตำรวจในอนาคตและไปปฏิบัติงานในโลกแห่งความเป็นจริงจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเตรียมทหาร ทั้งนี้กรอบแนวคิดนี้จะได้นำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการศึกษาขั้นต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ

________.2551. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

คำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 220/45 เรื่อง นโยบายด้านการศึกษา กระทรวงกลาโหม สั่ง ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2545 (สำเนา)

คำสั่งกองทัพไทย (เฉพาะ) ที่ 55/51 เรื่อง นโยบายการศึกษาของกองทัพไทย สั่ง ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2551 (สำเนา)

ทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.

ประกาศโรงเรียนเตรียมทหาร เรื่อง กำหนดมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนเตรียมทหาร ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2557 (สำเนา)“ประวัติโรงเรียนเตรียมทหาร”. [ม.ป.ป.] [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.afaps.ac.th/afapshistory/historyindex.php สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2561.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2553. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 2552. แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

โรงเรียนเตรียมทหาร. 2560. หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหาร ฉบับปรับปรุง 2560. โรงเรียนเตรียมทหารสถาบันวิชาการป้องกันปะเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย.

ศึกษาธิการ. กระทรวง. 2546. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.

________. กระทรวง. 2560. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจและ ชัญญาพัทธ์ วิพัฒนานันทกุล. (2559). “ระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยสหรัฐอเมริกา กับปรัชญาและ “หัวใจ” ของการผลิตทหารอาชีพ”, วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. ปีที่ 15: 1-17.

สุนีย์ ชัยสุขสังข์. 2557. กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร
การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพาณี สฤษฏ์วานิช. 2553. การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิด และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

American Association of School Librarians. 2007. Standards for the 21st Century Learner. Retrieved January 12, 2001 from http://www.ala.org/ala/mgrps/divs/aasl/guidelineandstandards/AASL_Learning_Standards_2007.pdf

Certo, S.C. and Peter, J.P. 1991. Strategic Management: Concept and Applications.Singapore: McGraw-Hill.

Partnership for 21st Century Skills. 2007. Available from: edweek.org (31 January,2018).

Wheelen, T.L. and Hunger, D.J.. 1995. Planning and conducting needs assessment: a practical guide. Thounsands Oaks, CA: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29