รูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • เพ็ชรา พรมตวง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ศรีเพ็ญ พลเดช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • โกวิท วัชรินทรางกูร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง(2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ (3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ใน 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 845 คน ใน 145 โรงเรียน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบเป็นขั้นตอนการร่างรูปแบบ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ และทดลองใช้รูปแบบตามคู่มือการใช้รูปแบบ ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบ เป็นขั้นตอนประเมินรูปแบบด้วยการประชุมกลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบที่สมบูรณ์ ในการวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม

แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.06) และสภาพที่พึงประสงค์ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.57)(2) รูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ มีองค์ประกอบการบริหารจัดการ จำนวน 4 ด้าน 50 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการจัดครูผู้สอนปฐมวัย ด้านการจัดโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการ และด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของผู้ปกครองและชุมชน มีกระบวนการของรูปแบบ 2กระบวนการ ได้แก่1) วิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน2)วงจรบริหารงานคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming Cycle)(3) รูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.29, gif.latex?\bar{x}= 4.23) ตามลำดับ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.61)

References

กรรณิกา นาคคำ. (2558). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ( 2551). ทักษะทางสังคม พื้นฐานการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข. กรุงเทพฯ : แม่และเด็ก.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา.กรุงเทพฯ :เบรน- เบสบุ๊คส์.
จิ
ราภาบูรณะ. (2557). การบริหารโรงเรียนที่เป็นศูนย์ต้นแบบปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จีรนันท์ เกิดม่วง. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับบทบาทการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ภาวะผู้นำในองค์การ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

ณรงค์ ชูศรีชัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี.
วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ดิเรก พรสีมา. (2554). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู. (เอกสารอัดสำเนา).

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2554). ทฤษฎีและแนวทางการพัฒนาสังคม ในประมวลชุดวิชาสังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและการพัฒนาการเกษตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

นริสานันท์ เดชสุระ. (2552). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ:กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

บุญมี ก่อบุญ. (2553). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เบญจนารถ อมรประสิทธิ์. (2558). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2558.

ปณิตา วรรพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาผู้นำการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ. (2553). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน.วิทยานิพนธ์ ค.ม.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

ศิริอร ขันธหัตถ์. (2547). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริพร ศรีอินทร์สุทธิ์. ( 2558). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : วิทยาพัฒน์.

สมเดช สีแสง. (2553). คู่มือการบริหารโรงเรียน. นครสวรรค์ : หจก.ริมปงการพิมพ์.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551).การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. ดุษฎีนิพนธ์ กศ.ด.การบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุธาสินี สว่างศรี. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำทางการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัมหาวทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือดำเนินการประเมินศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบปีการศึกษา 2556. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

------------------- (2558). รายงานผลการประเมินโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเครือข่าย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.(2559). ก้าวแรกที่เท่าเทียม จากเรื่อง Giving Kids a Fair Chance โดยJames J. Heckman. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเพ่นเวลด์ส.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2548). แนวดำเนินงานศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Adams, D.N. & Hamm, M.E. (1990). Cooperative learning - Critical thinking and Collaboration across the curriculum. Springfield, IL: Charles C Thomas.

Bardo, J. W. &Hartman, J. J. (1982). Principles of Urban Sociology: A Systematic Introduction. New York: F.E. Peacock.

Bastiani, J. (1990). Parents as Partners : Genuine Progress or Emty Rhetoric?. Parents and Schools : Customers, Managers or Partners ?.Edited by Pamela Munn.London :
Routledge.

Bean, J. C. (1996). Engaging Ideas: The Profession’s Guide to investigating writing,Criticalthinking, and active learning in classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

Brown, W. and Moberg, D. J. (2010). Organization Theory and Management: A Macro Approach. New York: Wiley & Sons, 1980.

Fink, E., & Resnick, L. B. (2001). Developing principals as instructional leaders. Phi Delta Kappan, 82(8), 598–606.

Halverson, R. (2007). A distributed leadership perspective on how leaders use artifacts to create professional community in schools. In L. Stoll and K. S. Louis (Eds.) Professional learning communities: Divergence, detail and difficulties. Maidenhead: Open University Press..

Kimbrough, Ralph. A. & Nunnery, Michael. Y. (1976). Education Adminstration. Mc. Millan : Publishing Co.

McGregor, J. (2008). The World’s Most Innovative Companies. Bloomberg BusinessWeek. (April). Retrieved January 11, 2009 from. http://www.businessweek.com/magazine/ content/08_17/ b4081061866744.html.

Moorhead, G. & Griffin, R.W. (1995). Organizational behavior. (4th ed.). Boston : Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29