ผลของการบริหารกายแบบฤๅษีดัดตนต่อการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ ตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ธีรนุช กอโพธิ์ศรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ยงยุทธ วัชรดุลย์ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารกายแบบฤๅษีดัดตน, อาการปวดเข่า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริหารกายแบบฤๅษีดัดตนต่อการลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุก่อนและหลังรักษาด้วยการบริหารกายแบบฤๅษีดัดตน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าในตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ Paired Sample T-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการรักษาผู้สูงอายุมีระดับความปวดส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4-5 มีจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33 และหลังการรักษาด้วยการบริหารกายแบบฤๅษีดัดตน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความปวดน้อยลง โดยส่วนใหญ่มีระดับความปวดอยู่ระหว่าง 1-3 มีจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และภายหลังจากการรักษาอาการปวดเข่าด้วยการบริหารกายแบบฤๅษีดัดตน กลุ่มตัวอย่างทุกรายมีอาการปวดลดลง มีค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดเป็น 3.20 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.28 โดยค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดลดลงเท่ากับ 3.82 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <0.001

References

กรมอนามัย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปี 2560. เข้าถึงได้จากhttp://env.anamai.moph.go.th/download/actionplan/.pdf (สืบค้น 1 เมษายน 2560).

กิติศักดิ์ รุจิกาญจนโรจน์. (2561). ประสิทธิผลของการนวดไทยร่วมกับการทำท่าบริหารฤๅษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 33(4), 339-345.

ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล สุวรรณี สร้อยสงค์ และบุศริน เอี่ยวสีหยก. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 223-238.

เชาวดี สิทธิพิทักษ์. (2561). ผลการกายบริหารแบบฝึกฤๅษีดัดตนร่วมกับการฝึกเก้าจัตตุรัสที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ 2018, 157-167.

ฐานิดา สุวรรณชัย ธันยาพร แก้วมณี อำพล บุญเพียร และอรุณี ยันตรปกรณ์. (2559). การพัฒนาปลอกประคบร้อนสมุนไพรลดอาการปวดเข่าสำหรับผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ “แพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาแผ่นดิน”วันที่ 29-30 สิงหาคม 2559.

ณัฏฐ์ศศิ ชูกิจรุ่งโรจน์ และดวงพร เบญจนราสุทธิ์ (2559). ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนต่อความโค้งและช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนนอกและเอวในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย. วารสาร มฉก.วิขาการ, 19(38), 21-39.

ปราณี ใจกาศ เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ และรัตนา พันธ์พานิช. (2561). ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนต่อความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. วารสารนเรศวรพะเยา, 11(1), 37-40.

ปิยะพล พูลสุข มณฑา เก่งการพานิช และธราดล เก่งการพานิช. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริหารข้อเข่าด้วยท่าฤาษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(2), 191-202.

ผุสดี ไชยบุรี (2550). ผลการฝึกฤๅษีดัดตนประยุกต์กับการฝึกความยืดหยุ่นที่มีต่อความอ่อนตัวและการทรงตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารคณะพลศึกษา, 10(1),196-210.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหมู่ม่น. (2560). รายงานผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. เข้าถึงได้จากhttp://hmaungudsw.net/wizContent.asp?wizConID=68&txtmMenu_ID=7(สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2561).

ศิลดา การะเกตุ นิชกานต์ สุยะราช พัชรินทร์ ใจดี สมบัติ กาศเมฆ สุนทร พรมเผ่า และผณิตา ประวัง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังจากการรักษาโคลนสมุนไพรพอกเย็นร่วมกับการนวดแผนไทยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า. เชียงรายเวชสาร, 9(2), 115-124.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารสุข. (2558). สาระสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก http://wops.moph.go.th/ ops/thp/thp/userfiles/file/Issue%2024_58.pdf. (สืบค้น 1 เมษายน 2560).

อัมรินทร์ พ่วงแพ, จักรพงษ์ ขาวถิ่น, ราตรี เรืองไทย. (2553). ผลของการฝึกบริหารร่างกายด้วยฤาษีดัดตนที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในนักศึกษาหญิงโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 10(1), 163-183.

Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). (2017). Treatment of osteoarthritisof knee: An update review.Retrieved from
https://effectivehealthcare.ahrq.gov/sites/default/files/pdf/ osteoarthritis knee-update_research-2017.pdf (สืบค้น 6 เมษายน 2560).

Keller k, and Engelhardt M, (2013). Strenght and muscle mass loss with aging process Age and strength loss, 3(4), 346-350.

Samranpat W, Boonprakob Y, Eungpinichpong W, Puntumetakul R. (2009). The immediateeffect of individualposture of Thaiyogastrechingonbackflexibility. KhonKaen University : The 12 th National Graduate Research Conference, 2009. 134-142.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29