ความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการนิติบุคคลที่มีต่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วรนุช กุอุทา สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการ, ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในด้านภาษเงินได้นิติบุคคลของผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแยกตาม เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และประเภทของการประกอบกิจการ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคลในอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีจำนวน 83 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่าสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม จากการแจกแบบสอบถาม จำนวน 83 ราย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 – 50 ปี ส่วนมากมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา ระยะเวลาในการประกอบกิจการ 1 – 5 ปี ตำแหน่งรับผิดชอบในกิจการ คือ กรรมการผู้จัดการ และประเภทของกิจการ เป็นประเภทธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจ พบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิและรายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายของผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งมีความรู้มากที่สุดคือ เรื่องการตีราราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และเมื่อคำนวณตามเกณฑ์ใดตามวิชาการบัญชีแล้ว ให้ใช้เกณฑ์นั้นตลอดไป และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทจะหักเป็นรายจ่ายได้ต่อเมื่อบริษัทมอบกองทุนให้บุคคลที่สามไปบริหาร การทดสอบสมมติฐาน พบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิและรายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายของผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการประกอบ ตำแหน่งรับผิดชอบ และประเภทของกิจการต่างกันไม่มีความแตกต่างกัน

References

กรมสรรพากร. (2560) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคล. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rd.go.th/publish/835.0.h tml สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561

กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. (2548). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2548. กรุงเทพฯ.

ชนกานต์ จุลาสัย. (2553). ความรู้ความเข้าใจของผู้ทำบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ใน กฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล.การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม (2551). กฎหมายภาษีอากร. ฉบับปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา บวรลักษณ์ เงินมา. (2553). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการใน เขตจังหวัดเพชรบูรณ์.การ ค้นคว้า แบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรี ปทุม.

ไพจิตร โรจนวนิช ชุมพร เสนไสย และสาโรช ทองประคำ. (2549). คำอธิบายประมวลรัษฎากร.พัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์. (2560). รายชื่อผู้ประกอบการนิติบุคล. [ระบบ ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dbd.go.th/mainsite/inde x.php?id สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561

สุพาดา สิริกุตตา. (2548). การภาษีอากร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด ผู้ทำบัญชี. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://lumyai.krutechnic.com/unit3_ 2.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561.

ศุขจี มูลท้องย้อย. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม.วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ.

อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์. (2553). การบัญชีภาษี อากรชั้นสูง. ฉบับปรับปรุงพิมพ์ครั้ง ที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ชวนพิมพ์ 50 จำกัด.

อักษร สวัสดี. (2542). ความรู้ความเข้าใจ และ ความตระหนักในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษา ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ภาคนิพนธ์ปริญญา พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29