ความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย: ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว ปัจจัยและวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

ผู้แต่ง

  • นฤดี โสรัตน์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาชัญญา รัตนอุบล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปาน กิมปี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งของครอบครัว, การเรียนรู้ตลอดชีวิตของครอบครัว, บริบทสังคมไทย

บทคัดย่อ

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด และเป็นสถาบันทางสังคมที่เป็นจุดเริ่มต้นของความสุขความสำเร็จของชีวิตที่ทุกคนปรารถนา เมื่อสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วครอบครัวจึงเป็นหน่วยของสังคมหน่วยแรกที่ได้รับผลกระทบ การเรียนรู้ตลอดชีวิตในครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ครอบครัวได้เรียนรู้ในการปรับตัวเพื่อกันและกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมพร้อมเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งในครอบครัว และความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครอบครัวในบริบทสังคมไทยมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นตัวตนของสังคมและคนในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว ปัจจัยและวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและสื่อที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของครอบครัวเข้มแข็งวิธีและปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครอบครัวเข้มแข็งในบริบทสังคมไทย 2) สัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้การศึกษาแบบพหุกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ 25 รายการ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามสัมภาษณ์ครอบครัวที่มีเข้มแข็งที่ได้รับรางวัลด้านครอบครัวที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 ครอบครัว ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ข้อค้นพบจากการวิจัย ดังนี้ 1)ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งมีลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว 7 ประการ คือ มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว รู้บทบาทหน้าที่ของตน ยึดมั่นคำสัญญา มีความเชื่อใจกัน มีการสื่อสารด้านบวกในครอบครัว มีทุนทางสังคมในครอบครัว มีความสามารถในการพึ่งตนเองได้ และมีความสามารถในการจัดการปัญหา หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง และปรับตัวได้ในภาวะยากลำบาก 2) ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งมีปัจจัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวสนับสนุน 7 ปัจจัย คือ มีสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตร่วมกันในสภาพที่เหมาะสม มีวิถีชีวิตที่ทำให้เกิดความใกล้ชิดกัน มีการจัดการด้านเศรษฐกิจครอบครัว มีการจัดการด้านสุขภาพครอบครัว ครอบครัวมีความอดทน ต่อสู้ปัญหาอุปสรรคได้ มีทัศนคติด้านบวก และมีความเสมอภาคระหว่าวัยในครอบครัว 3) ครอบครัวที่มีความเข้มแข็งใช้วิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว 7 วิธี คือ พูดคุย แลกเปลี่ยน สนทนา ทำตัวเป็นแบบอย่าง ปรับตัว ปรับวิธีคิด ปรับความเชื่อ เรียนรู้จากสื่อต่างๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้จากสถานการณ์ และเรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2559a). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2560-2564

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2559b). ระบบมาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง.

จิราภรณ์ รุ่งตะวัน. (2561). ประเพณีและวัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์ครอบครัว. จุลสารไทยออยล์เพื่อชุมชน, 8(48)(เดือนมีนาคม-เมษายน 2561), 3-5.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). (2560). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ:บทเรียนจากเพื่อนบ้าน(Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries) (ส. วิสุทธิลักษณ์ Ed.). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

โสภา (ชูพิกุลชัย) ชปีลมันน์. (2008). การศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับจริยธรรมค่านิยมประเพณีและวัฒนธรรมของครอบครัวไทยที่มีผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตร: ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหิดล. , ศาลายา. Retrieved from http://www.thaiedresearch.org/result/info2.php?id=3195

สำนักงานปกครองและทะเบียนสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2557). ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. Retrieved from http://203.155.220.230/bmainfo/esp/

หนังสือพิมพ์คม-ชัด-ลึก. (2560). ครอบครัวไทยเปราะบาง ไขปัญหาครอบครัวไทย ไม่เข้มแข็ง-มากมายปัญหา. Retrieved from http://www.komchadluek.net/news/edu-health/274785

Bowen, M. (1994). Family Therapy in Clinical Practice. Northvale NJ, United States: Jason Aronson Inc.

DeFrain, J., & Asay, S. M. (2007). Strong Families Around the World. Marriage & Family Review, 41(1-2), 1-10. doi:10.1300/J002v41n01_01

Kerr, M. E. (2000.). One Family’s Story: A Primer on Bowen Theory The Bowen Center for the Study of the Family. Retrieved from http://www.thebowencenter.org

Otto, H. (1962a). The personal and family strength research projects. Mental Hygiene, 48(439-450).

REACH. (2014). Strong Family Functioning, Research Brief. Retrieved from https://reachfamilies.umn.edu/sites/default/files/rdoc/Strong%20Family%20Functioning%20(2).pdf

UNFPA. (2558). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ.2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน. Retrieved from https://thailand.unfpa.org/th/publication

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29