การเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ผู้เรียน:บนฐานของปรัชญาการศึกษาและการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้แต่ง

  • ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉ๊ยงเหนือ
  • วานิช ประเสริฐพร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉ๊ยงเหนือ

คำสำคัญ:

สมรรถนะการเรียนรู้, ปรัชญาการศึกษา, การเรียนรู้เชิงรุก, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, คุณลักษณะ CCPR

บทคัดย่อ

ครูผู้สอนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ควรมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมกับธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของรายวิชา และธรรมชาติของผู้เรียน ด้วยการเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อผู้เรียนอย่างดีที่สุด ซึ่งตรงกับคำกล่าวในภาษาอังกฤษ “The best teacher is the best manager.” แนวการสอนหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้ นั่นคือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฟัง พูด อ่าน เขียน และแสดงความคิดเห็นขณะลงมือทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการใช้กระบวนการคิดขั้นสูงอย่างมีชีวิตชีวาและตื่นตัว บนฐานการใช้หลักปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้ และการคัดสรรนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุก จะช่วยให้ครูผู้สอน คณะครูที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารโรงเรียนมีโอกาสสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC ผ่านกระบวนการจัดทำ “Lesson Study” หรือการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน สู่การเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามแนวคิด CCPR ที่เน้นการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ (Critical Mind) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Mind) การสร้างชิ้นงานเชิงคุณภาพด้วยตนเอง (Productive Mind) และการมีความรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ (Responsible mind) ในรายวิชาต่างๆ ที่ครูปฏิบัติการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

ทิศนา แขมมณี.(2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 13 . กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2561).ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2561).หลักคิด การจัดการ หลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

นภาลัย สุวรรณธาดาและคณะ.(2553).การเขียนผลงานทางวิชาการและบทความ.พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม).กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข.(2561).การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับPLC เพื่อพัฒนา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข.(2561).ทักษะ 7C ของครู 4.0 PLC&Logbook.พิมพ์ครั้งที่ 4กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ราชบัณฑิตยสภา,สำนัก.(2558).พจนาณุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา.กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29