การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชา การศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่งเสริมการคิดแบบมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ เดชสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, เครือข่าย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนแครือข่ายคอมพิวเตอร์วิชา การศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือบนแครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาการศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่ง เสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนแครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาการศึกษาแบบเรียนรวม ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบกลุ่มซึ่งจะได้กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มเรียน จำนวน 120 คน ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 60 คน คือกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ใช้ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 2) การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) การศึกษา ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม ไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของการเรียนการสอน 1.2) การกำหนดจุดประสงค์ 1.3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ 1.4) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 1.5) การประเมินการเรียนการสอน 2) รูปแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ 80.03/80.22 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่าทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2546). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547 – 2549. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิดานันท์ มะลิทอง (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ และสุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ (2548). ปทานานุกรมศัพท์การศึกษา. กรุงเทพฯ: รำไพเพลส.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ สมานพันธ์ (2549). ผลของการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีรียาสาน์น.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการศูนย์พัฒนาหนังสือ.

เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์ (2536). การพัฒนาวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา อารีราษฎร์ (2549). การพัฒนารูปแบบการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแบบอัจฉริยะและมีส่วนร่วมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Facione PA, Facione NC. (1998). Critical Thinking : conceptual definition, critical thinking : assessment ideas. Millbrae : California Academic Press.

Johnson D W, Johnson RT. (1994). Learning together and alone : cooperative. Prentice Hall International Edition.

Slavin RE. (2006). Educational psychology theory and practice . 8th ed. New York: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29