การพัฒนาตำรับยารักษาโรคเบาหวานจากสมุนไพรในท้องถิ่นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี นนทพจน์ คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ตำรับยารักษาโรคเบาหวาน, หมอพื้นบ้าน, ชาสมุนไพร, การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาตำรับยารักษาโรคเบาหวานจากพืชสมุนไพรในชุมชนตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และการจัดเวทีชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่คือโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งสถานการณ์โรคเบาหวานในชุมชน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-69 ปี มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคที่มักเป็นร่วมกับเบาหวานคือความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลรักษาโรคของผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยไม่ได้ใช้สมุนไพรรักษาโรคอย่างจริงจังเนื่องจากยังไม่มีความเชื่อมั่นในยาสมุนไพร และขาดการรับรองจากบุคลากรสาธารณสุข ในด้านสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาของหมอพื้นบ้านมีสมุนไพรหลายชนิด แตกต่างกัน แต่มีรูปแบบคล้ายกันคือเป็นยาต้ม จากการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตำรับยาพบว่าหมอพื้นบ้านมีความคิดเห็นร่วมกันในการพัฒนาตำรับยารักษาโรคเบาหวานจากสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นที่มีผลงานวิจัยรองรับ 3 ชนิดซึ่งได้แก่ ใบหม่อน (Morus alba L.) ใบรางจืด (Thunbergia laurifolia Linn. )  และดอกกระเจี๊ยบ (Hibiscus sabdariffa L.) โดยพัฒนาเป็นรูปแบบชาชงสมุนไพร ผลการใช้ชาชงสมุนไพรกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อาสาสมัครในการดื่มชาชงจำนวน 14 คน เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการดื่ม พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ( =11.36±9.97) ในด้านความคิดเห็นของผู้ป่วยต่อการดื่มชาชงสมุนไพร และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีความต้องการดื่มชาชงต่อ เนื่องจากมีความสะดวกในการเตรียม สามารถดื่มแทนน้ำ หรือน้ำอัดลมได้ หมอพื้นบ้านสามารถผลิตชาชงสมุนไพร และบรรจุในถุงชาได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องมีการควบคุมปัจจัยอื่น ๆ เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการส่งเสริมสุขภาพจิตควบคู่กัน ซึ่งจะสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

References

กรรณิการ์ พุ่มทอง และ ณฐกร ช่างสนิท. (2557). การพัฒนายาแคปซูลรักษาโรคเบาหวานจากสูตรยาหมอพื้นบ้านเพื่อใช้ในสถานบริการทางการแพทย์. อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.
กาญจนา ทองทั่ว. (2556). ลีลาวิจัยไทบ้าน : ถอดบทเรียน ประสบการณ์ คนทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
จริยา ปัณฑวังกูร . (2558). การสำรวจความต้องการของชุมชนตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชมรมจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย. (2551). แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณภัทร จันทร์รักษา. (2553). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในการรักษาโรคเบาหวาน กรณีศึกษา. กลุ่มชาติพันธุ์มอญ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนตะวันออก คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต.ปทุมธานี.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ. (2550). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
ธนภัทร์ วรรธนปิยกุล และคณะ. (2561).การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านด้านการรักษาโรคเบาหวานด้วยยาสมุนไพร อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ :กรณีศึกษา หมอประกาศิต อำไพพิศ.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ.1(1).หน้า 64-75.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2546) .ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.หน้า 182 -183.
บุญเกิด คงยิ่งยศ,พัชรีวัลบ์ ปั้นเหน่งเพ็ชร,วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์ และยุพา คูคงวิริยพันธุ์.(2546).รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่องฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากชาเขียวใบหม่อนในหนูแรทเบาหวาน. ขอนแก่น : ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (2561,19 มกราคม).ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 135 ตอนพิเศษ 14 ง หน้า 271.
ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ (2556). ข่าวไทยรัฐทีวี. สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 เดือนมกราคม ปี 2559, จาก https://www.thairath.co.th/content/379520.
ฤทธิชัย พิมปา. (2557). พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดกาญจนบุรี วารสารวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี กรุงเทพมหานคร 30 (3) หน้า 14-25.
วรรณี จันทร์สว่าง. (2546). สุขภาพชุมชน : แนวคิดและกระบวนการดำเนินงาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา: ลิมบราเดอร์สการพิมพ์.
วิทยา ศรีดามา. (2542).ตำราอายุรศาสตร์ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูนิตี้พับลิเคชั่น.
ศิริขวัญ อุทา. (2546). กระบวนการจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองประกอบโรคศิลปะ. (มปป). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาวิชาเภสัชกรรม. กรุงเทพฯ: มปท.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2560). ข้อมูลการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน. อุบลราชธานี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2552). แนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในการจัดบริการคัดกรองและเสริมทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อในสถานบริการและในชุมชน. กรุงเทพฯ : บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด
สุชาติ อรุณศิริวัฒนา.(2553). ผลของการดื่มน้ำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานต่อภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์.กรุงเทพมหานคร.
สุภาวดี นนทพจน์ และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้าน ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เสาวภา ดวงเศษวงษ์ (2550). ผลของสารสกัดจากใบหมอน ใบขี้ เหล็ก และกลีบรองดอกกระเจี๊ยบแดงตอ ระดับน้ำตาลในเลือด ค่าทางโลหิตวิทยา ปริมาตรและคุณสมบัติทางเคมีของ น้ำปสสาวะ และลักษณะเนื้อเยื่อลําไสเล็กในหนูเบาหวาน.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.
อรุณพร อิฐรัตน์ และคณะ. (2556). ผลงานยาเม็ดกระเจี๊ยบแดงใช้สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน. สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ปทุมธานี.
อาราทร หล้าคำมูล, สุพัชญา อินต๊ะแสน, วรรณวิสา สุทธการ และ ธัญญารัตน์ ยะแสง. (2557). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางแพทย์วิถีธรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน.วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 12 (2) หน้า 41.
อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล, อลงกต สิงห์โต, นริศา เรืองศรี, ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี (2562) .ผลของการดื่มชาใบหม่อนต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความอิ่มในอาสาสมัครสุขภาพดี.วารสารศรีนครินทร์เวชสาร .34 (3).หน้า 237-242.
เอี่ยมฤทัย วิเศษหมื่น (2552). กลไกการออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของกระเจี๊ยบในหนูแรทเบาหวานที่เหนี่ยวนำเสต็ปโทโซโทซิน.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเภสัชวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ขอนแก่น.
Medthai. การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวจหาเบาหวาน. (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 7 ธันวาคม 2562). จาก: https://medthai.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01