การพัฒนาภาพลักษณ์เชิงการตระหนักรู้และภาพลักษณ์เชิงความรู้สึกของนักท่องเที่ยวที่บ่งชี้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืน กรณีศึกษา เมืองพัทยา
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์, นักท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาภาพลักษณ์เชิงการตระหนักรู้และภาพลักษณ์เชิงความรู้สึกของนักท่องเที่ยวที่บ่งชี้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืน : กรณีศึกษาเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาพัฒนาเชิงตระหนักรู้และเชิงความรู้สึกของนักท่องเที่ยวที่บ่งชี้ภาพลักษณ์ของสถานบันเทิงบนถนนคนเดินเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี นักวิจัยได้ทำการสำรวจประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน400 คน ผู้ตอบแบบสอบถามคือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังถนนคนเดินพัทยาในช่วงเวลาวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 28พฤษภาคม 2562วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผ่านโปรแกรม SPSSโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันผ่านโปรแกรม SPSS for AMOS ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถานบันเทิงที่ถนนคนเดินพัทยาผ่านการยืนยันหาความตรงเชิงโครงสร้างทั้ง 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) บรรยากาศปลายทาง 2) สิ่งแวดล้อมปลายทาง 3) การเข้าถึงและทำเลที่ตั้ง 4) กิจกรรม 5) การบริการ 6) สิ่งอำนวยความสะดวก 7) คุณค่า และเกิดภาพลักษณ์เชิงความรู้สึกได้แก่ 1) ความอัศจรรย์ 2) ความผ่อนคลาย จะเห็นได้ชัดเจนว่าค่าการตระหนักรู้และความรู้สึกต่อสถานที่ท่องเที่ยวเป็นไปในทางบวกด้วยกัน แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืนของเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
References
Beerli, A., & Martin, J. D. (2004). Factors influencing destination image.
Bosque, I. R. D., & Martin, H. S. (2008). Tourism Satisfaction: A Cognitive-Affective Model. Annals of Tourism Research Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports, (2018), Website Entertainment place act,B.E. 2509 (1966)
Hair, J. F. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L., Black , W. C., 2006. Multivariate Data Analysis (Sixth ed.), Upper Saddle River, New Jersey, Prentice Hall.
JA Russell Acricumplex model of affect (1980)