คุณค่าของระบำลีลาลายสังคโลกที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม
คำสำคัญ:
คุณค่า, ระบำลีลาลายสังคโลก, สังคม, วัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการแสดงระบำลีลาลายสังคโลก และศึกษาคุณค่าของระบำลีลาลายสังคโลกที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากความยาวนานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คน จนเกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่มีเอกลักษณ์แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างช้านาน จากอาชีพหนึ่งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษสู่กระบวนการสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ สามารถบ่งบอกให้เห็นถึงความงดงามจากศิลปะที่ผ่านจากการร่ายรำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสะท้อนให้เห็นความงามที่เกิดจากลวดลายสังคโลก ให้ทรงคุณค่าต่อสังคมและวัฒนธรรม เพื่อเป็นการสืบทอด ส่งเสริม อันเป็นมรดกของชาติสืบไป
References
ประทิน พวงสำลี.(2514). หลักนาฏศิลป์. พระนคร : โรงพิมพ์ไทยมิตรการพิมพ์
พาณี สีสวย.(2526).สุนทรียของนาฏศิลป์ไทย.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยครูธนบุรี.
พีรพงศ์ เสนไสย.(2546). นาฏยประดิษฐ์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภุชชงค์ จันทวิช.(2552).เครื่องถ้วยในเมืองไทย เครื่องถ้วยสังคโลก.กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์,ผศ.ดร.(2548).สังคโลกมรดกแห่งภูมิปัญญาไทย.กรุงเทพฯ : แม็ค.
ศรีศักร วัลลิโภดม, สุจิตต์ วงษ์เทศ, พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ และคณะ.(2535). ดนตรีและนาฏศิลป์กับเศรษฐกิจและสังคมสยาม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
สันติ เล็กสุขุม.(2555).ศิลปะสุโขทัย.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์.(2525). ความรู้เรื่องสังคโลกจากหลักฐานใหม่. ศิลปากร ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน).
สมชาย ฟ้อนรำดี.(2556). ศิลปะการแสดงโขน : การพัฒนารูปแบบการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์ในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.