การรักษาอัมพฤกษ์อัมพาตตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • วันวิสา จันทร์วิบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative method) ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร (document research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการรักษาอาการอัมพฤกษ์อัมพาตตามหลักการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏในคัมภีร์แพทย์แผนไทยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีพื้นฐาน ที่ใช้ในการรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและศึกษากระบวนการรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาตตามหลักการแพทย์แผนไทยโดยมีการตรวจหาสาเหตุของโรคตามคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยที่อธิบายถึงเรื่องการแยกระยะความรุนแรงของโรคจากนั้นทำการจ่ายยารักษาและให้คำแนะนำ คัมภีร์ชวดารซึ่งกล่าวถึงโรคลม คัมภีร์กษัยกล่าวถึงโรคที่เกิดจากความเสื่อมภายในร่างกายและจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญในการรักษาอาการอัมพฤกษ์อัมพาตตามหลักการแพทย์แผนไทยจำนวน 4 ท่านได้แก่ นายบุณยพร ยี่มี บุญทอง,นายสิปปกรณ์โสภิตสกล, นายพรชัยชนะนิธิธรร,นายมนฑณ เพชรสี ได้ให้ความเห็นด้านการแพทย์แผนไทยว่า อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจาก ลมอุธังคมาวาตา กับ ลมอโธคมาวาตา ระคนกัน ส่งผลทำให้ มัถเกมัถลุงคังพิการอีกทั้งยังมีสาเหตุมากจากความเสื่อมภายในร่างกาย พบมากในวัย50ปีขึ้นไป และยังส่งผลให้มีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้นเช่นโรคความดันโลหิตสูง และยังรวมถึงการได้รับอุบัติเหตุอีกด้วย การรักษาคือใช้ยารสร้อนสุขุม เช่น ยาแก้ลมฉกวาโย ยาตำหรับรักษาแก้นหารูพิการตามคัมภีร์โรคนิทาน ยาวาตาพินาศ ยาเบญจขันธ์ ยาชุมนุมวาโย กล่าวไว้ในคัมภีร์ชวดาน ยาเบญจอัมพฤกษ์ กล่าวไว้ในคัมภีร์กษัย เป็นต้น การรักษาโดยใช้ตำรับยารสร้อนสุขุมแทรกด้วยยาระบายเพื่อขับและกระจายลมในกองสมุฏฐานจากนั้นจ่ายยาบำรุงกำลังให้ร่างกายสมบูรณ์ การทำหัตถการนวดประคบและอบสมุนไพรเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและแนะนำการปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้สัมพันธ์กับธาตุโดยรับประทานอาหารรสร้อนเพื่อช่วยในการขับลม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงการโดยเน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ และพักผ่อนอย่างเพียงพอตามกาลสมุฏฐานการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาองค์ความรู้การวิจัยในรูปแบบของศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาในระดับวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกต่อไป

References

Department of Disease Control.World Stroke Organization(WSO)2017.Nonthaburi: 2017.1017 p.

ThonghongA,Thepsitha K, JongpiriyaananP.The situation stroke in Thailand 2012.Bureau of Epidemiology,
Department of Disease Control.Nonthaburi:2012.

ICD-10-TM. Department for Development of Thai Traditional And Alternative Medicine Ministry of Public
Health.1st. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His majesty
the King Printing;2015.

Foundations Thai Traditional.Faculty of Thai Traditional Medical(Phasatsongkger).1sted.Bangkok: Supawanich
Printing;2009.

Foundations Thai Traditional.Thai Pharmaceutical Pharmacy.Availabie1.Bangkok:Pikanet Printing Center;2005.

TowanabutrS.ArticleStroke.Thailand Medical Services Profile 2011-2014.Department of Medical
services.1sted.Nonthaburi;2015.

LimtiyayothinA,ChanaponV,SukmisriK,ButnumpheB,YuceriykicS,KnalakV. SenPrathan Sib (Roral Tradition).
1sted.Bangkok:Thai Traditional Medical Council;2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29