อาหารไทยของวังสวนสุนันทาเพื่อสุขภาพในเชิงทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
คำสำคัญ:
อาหารไทยชาววัง, สำรับอาหารไทยชาววังสวนสุนันทา, ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
สวนสุนันทา หรือวังสวนสุนันทา เป็นพระนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตั้งในพื้นที่พระราชวังสวนดุสิตเขตพระราชฐานชั้นใน ในปี พ.ศ. 2463 – 2475 วังสวนสุนันทาเป็นที่ประทับของ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา และเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงข้าหลวงที่ติดตามอีกจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นที่สั่งสอนอบรมกิริยา มารยาท และฝึกการงานฝีมือกุลสตรี และยังเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงด้ารการอาหารชาววัง ตำรับกับข้าวไทยชาววังสำนักพระวิมาดาเธอฯ มีเอกลักษณ์ ประดิษฐ์รสชาติอาหารได้กลมกล่อมครบรส ด้วยความหลากหลายของส่วนประกอบเครื่องปรุง และมีรสร้อนที่มาจากพืช ผัก สมุนไพร และเครื่องเทศ มีศาสตร์อาหารคู่อาหาร คือมีของแนมช่วยชูรสให้กลมกล่อมอร่อยมากขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาอาหารชาววังของวังสวนสุนันทาว่ามีวิธีการจัดชุดสำรับอย่างไรมีคุณค่าทางอาหารตามหลักโภชนาการ และมีผลต่อสุขภาพทาตามแนวทฤษฎีการแพทย์แผนไทย จึงได้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือประวัติวังสวนสุนันทา และสัมภาษณ์จากผู้รู้ สำรับอาหาร 3 มื้อที่แนะนำ คือ อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน และอาหารมื้อเย็น ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ข้าวสวย/ ข้าวต้ม หรือข้าวต้มสามกษัตริย์/ น้ำพริกต่างๆ และเครื่องเคียง/ อาหารคาวส่วนใหญ่เป็นประเภทแกง ต้มยำ ยำต่างๆ อาหารไทยชาววังสามารถดัดแปลง จัดสำรับใหม่ได้ตามความชอบ และความเหมาะสมต่อผู้รับประทาน ตามสภาพภูมิอากาศในแต่ละวันได้ การเรียนรู้การปรุงอาหารไทย เท่ากับการเรียนรู้เพื่อปรุงยาบำรุงสุขภาพกาย เหมาะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ การรับประทานอาหารที่ปรุงแต่งตามแบบสมัยก่อน ที่เน้นของตามฤดูกาล ปรุงรสไม่จัด เน้นของสดสะอาด กินข้าว ผัก ปลา เป็นหลัก อาหารแต่ละมื้อมีหลากหลายเมนู อาหารไทยชาววังจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้
References
กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมกูร. ย้อยรอย…พระราชอุทยาน สวนสุนันทา (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า; 2553.
กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมกูร. วันวานที่ผ่านมา แก้วเจ้าจอม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า; 2550.
กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมกูร. ในวังแก้ว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า; 2545, 2548.
กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมกูร. ร้อยเรียงเวียงวัง (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า; 2545, 2547.
ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรม. ที่ระลึกงานเฉลิมพระเกีรติ 130 พรรษา พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิทยาลัยครูสวนสุนันทา; 2536.
เกศสิรี ปั้นธุระ. เอกลักษณ์ของอาหารไทยชาววัง : การคงอยู่และการส่งเสริมคุณค่า. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2550.
กรรณิการ์ พรมเสาร์ และ นันทา เบญจศิลารกษ์. สำรับไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: บริษัท กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด; 2542.
มหวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและคณะ. สวนสุนันทา (พิมพ์ครั้งที่ 1). รุงเทพมหานคร: บริษัท อมริทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2537.
ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์. ชีวิตในวัง ๑. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ; 2545.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ตำราวิชาการ อาหารเพื่อสุขาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินทร์ และ กรรณิการ์ สุขเกษม. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สามลดา; 2547.
สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง ก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕. [อินเตอเน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2559 08 14]. แหล่งข้อมูล: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1305020582&grpid=no&catid=53
สมศรี เจริญเกียรติกุล, วัชรี ดษิยบุตร, อทิตดา บุญประเดิม, เย็นใจ ฐติะฐาน, มัณฑนา ร่วมรักษ์. การพัฒนาชุดสํารับอาหารไทยเพื่อสุขภาพ. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2547.
สมศรี เจริญเกียรติกุล, วงสวาท โกศัลวัฒน์, วิสิฐ จะวะสิต, สมเกยีรติ โกศัลวัฒน์, นภิา โรจน์รุ่งวศินกุล และอทิตดา บุญประเดิม. คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล;2545.
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทน์ทางเลือก. ภูมิปัญญาไทย: อาหารสมุนไพร. (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2548.
ตำราการแพทย์แผนไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่ม 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม; 2550.
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทน์ทางเลือก. ธาตุเจ้าเรือน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์). ตำราเภสัชกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์; 2548.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2540.
ธรรมปราโมทย์. อาหารกับสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา: สถาบันบันลือธรรม; 2549.