รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศ, การนิเทศภายใน, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารวิชาการ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 340 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางอัตราส่วนของบุญชุม ศรีสะอาด และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการนิเทศภายใน มี 5 องค์ประกอบ คือ การเตรียมการ การวางแผน การปฏิบัติการ การสะท้อนผล ปรับปรุงและประเมินผล และการสรุปและการรายงานผล ส่วนกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมี 6 องค์ประกอบ คือ วิสัยทัศน์ร่วม ทีมร่วมแรงร่วมใจ ภาวะผู้นำร่วม การเรียนรู้พัฒนาวิชาชีพ ชุมชนกัลยาณมิตร และโครงสร้างสนับสนุนชุมชน
References
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2555). การนิเทศในสถานศึกษา. (ออนไลน์) 2555. (อ้างเมื่อ 1 เมษายน 2560) จากhttps://mystou. files. wordpress.com/2012/02/23503-8-t. pdf.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556).วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
บุญสุ่ม อินกองงาม. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอน ของครูผู้สอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12(1): มกราคม-เมษายน 2561
วิจารณ์ พานิช. (2555).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต27. กลุ่มนโยบายและแผน
สุธิภรณ์ ขนอม. (2561). รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (29(1): มกราคม-เมษายน 2561.21-34.
Daft, R.L. (1992). Organization Theory and Design.Singapore: Info Access
DuFour, R. (2007).Professional Learning Community at Work, TM Plan Book: Solution Tree Press
Glickman, Carl D. and others.(1990).Supervision of Instruction :Developmental Approach. 4th ed. Boston: Allyn & Bacon A Viacom Company
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education.3rded. New York: McGraw – Hill Book Company
Gwynn, Minor J. (1974).Theory and Practice of Supervision. New York: Dodd Mead and Company
Harris, B.M. (1985). Supervisory Behavior in Education.3rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice–Hall
Herzberg, Frederick I. (2005). Motivation Hygiene Theory, Organizational Behavior I:Essential Theories of Motivation and Leadership. ME Sharpe, Inc. 61–72. (2005)
Hord, S. M. (1997).Professional LearningCommunities: Communities of ContinuousInquiry and Improvement. Southwest Educational Development Laboratory. (Online) 1997. Accessed on 9 November 2017.Retrieved from,http://www.sedl.org/siss/plccredit.Html.
Keeves, John P. (1988).Educational Research, and Methodology, and Measurement.Oxford: Pergamon Press
McLaughlin, M. W., & Talbert, J. E. (2006).Building School-based Teacher Learning Communities: Professional Strategies to Improve Student Achievement.(Vol. 45): Teachers College Press
Senge, P.M. (1990).The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. London: Century Press
Smith, R.H. and others.(1980).Management :Marketing Organizations Perform.New York: Macmillan