การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • กชภัทร์ สงวนเครือ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รศ.ดร.สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, สมรรถนะครู, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ของข้อมูลเพื่อให้ได้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล/แบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ซึ่งใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้ของครูเกี่ยวกับเป้าหมายการสอนสะเต็มศึกษา 2) ความรู้ของครูเกี่ยวกับหลักสูตรสะเต็มศึกษา 3) ความรู้ของครูเกี่ยวกับความเข้าใจในผู้เรียน 4) ความรู้ของครูเกี่ยวกับกลวิธีการสอนสะเต็มศึกษา และ5) ความรู้ของครูเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ส่วนการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ความรู้ของครูเกี่ยวกับความเข้าใจในผู้เรียน ความรู้ของครูเกี่ยวกับหลักสูตรสะเต็มศึกษาความรู้ของครูเกี่ยวกับกลวิธีการสอนสะเต็มศึกษาความรู้ของครูเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้และความรู้ของครูเกี่ยวกับเป้าหมายการสอนสะเต็มศึกษา

References

ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช. คู่มือการเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับมัธยมศึกษา.กรุงเทพมหานคร: จูนพับลิชชิ่ง, 2554.

ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และคณะ. กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, 2560.

พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.วิทยานิพนธ์กศ.ด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2557.

สุพิษ ชัยมงคล. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. สมรรถนะของข้าราชการ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2553.

อนันต์ พันนึก. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ ค.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

Boone, Edgar I. Developing Programmer in Adult Education. New Jersey: Practice Hall, 1992.

St George’s College.(n.d.).Educating for the 21st century.Retrieved January 2. 2013

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30