ผลกระทบโครงสร้างเงินทุนและกระแสเงินสดที่มีต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจบริการ
คำสำคัญ:
โครงสร้างเงินทุน, อัตราผลตอบแทน, ราคาหลักทรัพย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบโครงสร้างเงินทุนและกระแสเงินสดที่มีต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ ประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนเงินปันผลและอัตราผลตอบแทนจากราคาที่เปลี่ยนแปลงของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจบริการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี(แบบ56-1) และจากฐานข้อมูล SETSMARTในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2557–2561 ที่มีผลประกอบการติดต่อกัน5ปี ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างเงินทุน ได้แก่ สัดส่วนการถือหุ้นนักลงทุนต่างชาติ โดยมีอายุของธุรกิจ กำไรต่อหุ้น เป็นตัวแปรควบคุม ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนเงินปันผลทางบวก สัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบัน สัดส่วนการถือหุ้นนักลงทุนต่างชาติ โดยมีอายุของธุรกิจ กำไรต่อหุ้น เป็นตัวแปรควบคุม ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนจากราคาที่เปลี่ยนแปลงทางบวก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05แสดงได้ว่าบริษัทที่มีการกระจุกตัวของหุ้นสูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีสัดส่วนในการถือครองหุ้นในระดับที่สูง จะมีอำนาจในการจัดการและบริหารงานมาก จึงต้องการส่วนแบ่งจากการลงทุนที่สูงมากธุรกิจที่มีอายุของการดำเนินกิจการมานานจะมีอัตราเงินปันผลตอบแทนที่สูงอัตรากำไรต่อหุ้นส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินส่งผลต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ในทิศทางเดียวกัน
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562. จาก: https//www.set.or.th/set/.
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ (2550). การศึกษามูลค่าทางบัญชีและกำไรทางบัญชีในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัย.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.ปีที่ 10. เล่มที่ 2 (มกราคม - เมษายน 2550) หน้า 70-78
ธวัชชัย วรสุนทร. (2558). ความสัมพันธ์ของกระแสเงินสดอิสระกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ : หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่ม SET100. วารสารชุมชนวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ปีที่ 9. เล่มที่ 2. (เมษายน - ธันวาคม 2558), หน้า 89-100.
ปาริชาติ ประจักษ์สูตร์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกำไรสุทธิ มูลค่าตามบัญชี และ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานที่มีต่ออัตราผลตอบแทน ของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET100. การศึกษาอิสระ. สาขาวิชาการภาษีอากรบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ปราญชลี สมภพโภคาเศรษฐ์ (2559). โครงสร้างผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท กับนโยบายการจ่ายเงินปันการค้นคว้าอิสระ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพ็ญนิภา พรหมโคตร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับผลตอบแทนหลักทรัพย์และผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ. การศึกษาอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รณชัย ชูประสูตร. (2556). ผลกระทบของผู้ถือหุ้นสถาบันต่อโครงสร้างเงินทุน นโยบายเงินปันผลจ่าย และการถือหุ้นของผู้บริหารและกรรมการบริษัท. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการเงิน,คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รวงฝน ใจสมุทร.(2561).โครงสร้างเงินทุนพื้นฐานความสำเร็จของกิจการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562). จาก:http://www.thai-iod.com.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์.(2543). การจัดทำงบกระแสเงินสดและการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน ในช่วงปี 2537-2542; วรสารนักบัญชี. ปีที่ 47 ฉบับที่ 1 (ส.ค.-พ.ย. 2543). หน้า 37-55.
อุราภรณ์ รักมิตร, ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ (2559). ผลกระทบด้านโครงสร้างเงินทุนที่มีต่อการจัดการกำไรและส่งผลไปยังราคาตามบัญชีของหลักทรัพย์: กรณีศึกษากิจการในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี. ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 (มกราคม - มีนาคม 2016) หน้า 25-32.
อุษณี วรพันธ์พิทักษ์. (2549).ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและกำไรที่มีต่อราคาและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ (บช.ม.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ting, H.I. (2013). The Influence of Insiders and Institutional Investors on FirmPerformance. Review of Pacific Basin Financial Markets and Policies. Vol.16 (4). from: http://dx.doi.org/ 10.1142/S0219091513500276