รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยสื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล
คำสำคัญ:
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อทางไกล, การนิเทศติดตามและประเมินผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูประจำชั้นในสถานศึกษาขนาดเล็ก ในเขตตรวจราชการที่ 13 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอำนาจเจริญ 468 คน จาก 234 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาข้อมูลและสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูประจำชั้นในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ6 คน จาก 3 โรงเรียนผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ 15 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินผลรูปแบบด้านความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยการประชุมสนทนากลุ่มผู้ใช้รูปแบบ21 คน รวมทั้งสิ้น 510 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลพบว่า มีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบดังนี้องค์ประกอบที่ 1ด้านการการดำเนินงานพื้นฐาน ได้แก่นโยบายและแผน พัฒนาบุคลากร และนิเทศกำกับติดตาม องค์ประกอบที่ 2 ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การบริหารจัดการ และภาวะผู้นำ องค์ประกอบที่ 3ด้านครู ได้แก่ การศึกษาหลักสูตร และการพัฒนาตนเองของครู องค์ประกอบที่ 4 ด้านนักเรียนได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะความรู้องค์ประกอบที่ 5 ด้านชุมชนและการมีส่วนร่วม ได้แก่ เครือข่ายความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของชุมชนองค์ประกอบที่ 6ด้านผลลัพธ์ได้แก่ เผยแพร่ผลงาน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมในสถานศึกษา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา คือความพึงพอใจของนักเรียน ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องครอบคลุมภารกิจด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาด้วยสื่อทางไกลผ่านดาวเทียม ส่วนผลการประเมินรูปแบบโดยรวม ผลการประเมินมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
_____________. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2553.
_____________. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.
เกษศิรินทร์ พลจันทร์. การบริหารจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2553.
จรรยา พลมัคร. การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมระดับประถมศึกษาตามโครงการโรงเรียนวังไกลกังวล กรณีศึกษากลุ่มโรงเรียนราชประชานุเคราะห์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิยาลัยบูรพา, 2549.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2557.
_________. รายงานสภาพและปัญหาการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไปสู่การปฏิบัติผ่านระบบออนไลน์. http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=200.
Brower, DE.& Lawler, E.E. The empowerment of service workers: what, why, how and when. Sloan Management Review, 33(3), pp.31-39.