ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, นวดแผนไทย, โรงเรียนแพทย์แผนโบราณบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.ศึกษาการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล2.ศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยว ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) และ 3.ศึกษาความแตกต่างของอิทธิพลจากส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยว ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)ระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจาก นักท่องเที่ยวที่ตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยว ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า (1) การตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลในภาพรวมมีความแตกต่างกันตามปัจจัยด้านอายุ สถานภาพ และอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยว ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ (b=0.30) และ การประชาสัมพันธ์ (b=0.20)โดยสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยเชิงพหุได้ดังนี้ Y= 1.92+0.05 X1+ 0.07X2 +0.01X3+ 0.20 X4 **+0.05X5+ 0.05X6 +0.30X7** โดยสมการดังกล่าวมีความแม่นยำในการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 37 (3) อิทธิพลจากส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยว ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์)ระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ มีความแตกต่างกัน โดย อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ และบริการ (b=0.16) ด้านราคา (b=0.18) การประชาสัมพันธ์ (b=0.21) และลักษณะทางกายภาพ (b=0.56) โดยสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยเชิงพหุได้ดังนี้ Y= 1.18+0.16 X1**+ 0.18X2** +0.04X3+ 0.21 X4** +0.05X5+ 0.07X6 +0.57X7** โดยสมการดังกล่าวมีความแม่นยำในการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 43 ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทย อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ (b=0.27) ด้านกระบวนการ (b=0.19) และลักษณะทางกายภาพ (b=0.34) โดยสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยเชิงพหุได้ดังนี้ Y= 2.02 +0.02 X1+ 0.02X2 +0.01X3+ 0.27 X4** +0.07X5+ 0.19X6 **+0.34X7** โดยสมการดังกล่าวมีความแม่นยำในการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 21
References
ฉัตยาพร เสมอใจ (2550) . พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณรงค์รัชช์ สรรพทวีบูรณ์ เธียรวิชญ์ เมืองซำ มานิตา แก้วลายทอง และอนุวัฒน์วัฒนพิชญากูล.(2556).พฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยในสถานบริการของรัฐและเอกชน เขตเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน.9 (1). 27.
ณัฎฐณิชชา ลาภทวี และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ์. (2559).พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดบริการ ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโยคะ ของเพศหญิงวัยทํางาน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล.
วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 3 (1).80-90.
ธัมมามนตร์ คุณรัตนากรณ์ สมจิตร ล้วนจำเริญ ราณี อิสิชัยกุล และวัชรีภรณ์ ไชยมงคล. (2557). อิทธิพลของส่วนประสมการตลาด และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีต่อความภักดีใน
การท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 4 (3).100-117.
นภาพร จึงตระกูล. (2557). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เลือกใช้บริการนวดแผนไทยในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น .7 (1).109-124.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557).การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ :ธรรมสาร.
พิศิษฐ เบญจมงคลวารี .(2545).นวดไทยเพื่อสุขภาพ เล่มที่ 1.กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
ไพศาล กอมะณี สุภาพร ใจการุณ และเผ่าไทย วงษ์เหลา. (2559). กลยุทธ์การตลาดในการพัฒนางานบริการนวดไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยสาธารณสุข
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 5.(2).85-98.
สมพิศ กองอังกาบ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทย ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(3).295-304.
สมาคมสปาไทย. (2556). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสปาเพื่อสุขภาพ.จาก http://www.thaispaassociation.com/ สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2561
Cochran, W.G. (1973). Sampling Techniques.(2nd. Ed), New York: John Wiley and Son, Inc.
Kotler, P. (2003). Marketing management.Mew Jersey: Prentic Hall.