การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การพัฒนากลยุทธ์, มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู เพื่อพัฒนา ทดลองใช้และประเมินกลยุทธ์การขับเคลื่อนมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 273 คน ผู้ให้ข้อมูลในการทดลองการใช้กลยุทธ์ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 12 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินกลยุทธ์ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม คู่มือการใช้กลยุทธ์ และแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1)ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานทั้ง 12 มาตรฐานอยู่ในระดับมาก ด้านปัญหาในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะมาตรฐานที่ 8 มีปัญหาน้อยมาก ส่วนด้านปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านผู้บริหารสถานศึกษา เป็นปัจจัยภายในที่ส่งผลมากที่สุด ส่วนปัจจัยภายนอกที่ส่งผลมากที่สุด คือ ด้านนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด2)กลยุทธ์การขับเคลื่อนมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี8 กลยุทธ์ได้แก่ กลยุทธ์ที่1ปรับกระบวนการพัฒนาครูตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายกลยุทธ์ที่ 2เสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูที่สอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู กลยุทธ์ที่ 3ส่งเสริมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้กลยุทธ์ที่ 6 เพิ่มศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู ในด้านการทำงานเป็นทีม การนิเทศภายใน การสร้างขวัญกำลังใจ และการบริหารกลยุทธ์ที่ 7 ปรับระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นระบบ และกลยุทธ์ที่ 8 เสริมสร้างขวัญกำลังใจ ยกย่อง และเชิดชูเกียรติครูผู้ปฏิบัติตน มีอุดมการณ์ และจิตวิญญาณในความเป็นครูตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู3)ผลการทดลองใช้กลยุทธ์ พบว่าผลการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนหลังการทดลองในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากผ่านเกณฑ์ทุกมาตรฐาน และผลการประเมินครูผู้สอนตามตัวชี้วัดของกลยุทธ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด และ3)ผลการประเมินกลยุทธ์ด้านความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความสอดคล้อง และความเป็นไปได้ ผ่านเกณฑ์ทุกด้าน
References
_______________________. (2560).แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. กำแพงเพชร: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.
________________________.(2561).รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ปีการศึกษา 2560. กำแพงเพชร: กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.
ชวนคิด มะเสนะ.(2559,มกราคม-เมษายน).การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า.วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16 (1), 9-16.
ชาติชาย ศรีจันทร์ดี. (2557, มกราคม-มิถุนายน).บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ.2556.วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 4 (2), 28-38.
ณิชชา คงรัตน์. (2559, มกราคม – มีนาคม). การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อยกระดับโรงเรียนสังกัดเทศบาลในกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 18 สูโรงเรียนคุณภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.18(1),42-53.
ทองใบ สุดชาลี. (2543). ภาวะผู้นำและการจูงใจ(พิมพ์ครั้งที่ 2).อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ทองสุข มูลตรีสา. (2555). การพัฒนาการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง) จังหวัดตาก 1.ครุศาตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ทิชากร จันทร์แก้ว. (2557). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3.วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธิตติยพัทย์ อยู่จิตร์. (2559, กรกฎาคม - ธันวาคม). การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรีตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพพ.ศ. 2556. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัย
ศิลปากร,7(1) : 156-166.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ,4(1), 176-187.
บูซิตา จันทร์สิงค์โท. (2560). บทคัดย่อการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4“งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”. เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.ปฏิรูปการศึกษา, สํานักงาน. (2544). รายงานปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน.กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่งจํากัด. (มหาชน).
พัฒณา มะลิวัลย์. (2561, 27-28 มีนาคม 2561).การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารวลัยลักษณ์การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่10, 2018(4), 93-99.
พิศิษฐ์ ดีแซง. (2561).การปฏิบัติตนตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
พิสมัย แก้วเจริญผล. (2559,มกราคม – ,มีนาคม).การพัฒนากลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 133-143.
วิชิตา สืบทอง. (2556). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
ศรารี นาคสุรินทร์. (2558). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงานของโรงเรียนเทศบาล 1 หนองใส สังกัดเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 20).กรุงเทพฯ:อมรินทร์.สุนทร โคตรบรรเทา. (2551).หลักการและทฤษฏีการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: ปัญญาชน
สุภัค ยมพุก. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม).การบริหารสถานศึกษาและการรับรู้การสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มที่ 4.วารสารวิชาการ ฉบับ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,8 (2), 1476-1495.
สุวิมล ว่องวาณิช และคนอื่นๆ. (2553).รายงานการวิจัยการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนภายหลังการประเมินภายนอกรอบแรก.กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
หริสา ยงวรรณกร. (2556, กรกฎาคม–ธันวาคม). การปฏิรูปการเรียนรู้ของครูในยุคโลกาภิวัตน์.ารสารบริหารการศึกษา มศว. 10 (19), 1-9.
อรรณพ จีนะวัฒน์. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). การศึกษาสภาพการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์มสธ. 8(2), 41-57.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2553). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.
Cheng, Yin Cheong & Kwok, Tung Tsui.(2001). A framework of Total Effectiveness.In Teaching Effectiveness and Teacher Development: Towards A New Knowledge Base.Hong Kong: The Hong Kong Institute of Education.
Chiumento, Sarah. (2007). “Happiness at Work Index.” Research on Human Resource issue,Chiumento London.
Guskey, T.R. (2000). Evaluation professional development. California: A Sage Publication Company.
Scott C.D., Jaffe DT. (1991). Empowerment: Building a committed Workforce.California: Koga Page.
Wheelen, T. L., Hunger, J. D., Hoffman, A. N. &Bamford C. E. (2015). Concepts in Strategic Management and Business Policy Globalization, Innovation, and Sustainability(14thed.). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.