การขับเคลื่อนกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ ทองใบ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมชัย วงษ์นายะ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อน, กลยุทธ์, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะ จังหวัดสุโขทัย แหล่งข้อมูลประกอบด้วย 1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) ผู้บริหาร บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 17 คน และตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 23 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร ใช้การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและใช้แบบประเมินผลตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัย พบว่า 1. กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะ จังหวัดสุโขทัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 6 พันธกิจ 6 เป้าประสงค์ 6 ประเด็นกลยุทธ์ 8 กลยุทธ์ 20 ตัวชี้วัด 89 แนวปฏิบัติและ 13 โครงการ โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้ 1)สร้างกลไกการประสานงานการชี้นำทิศทางการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม 2)เพิ่มผลสัมฤทธิ์การจัดระบบการวางแผนกลยุทธ์ตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 3)เร่งรัดพัฒนาระบบและกลไกการวิเคราะห์ความต้องการและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชากรเป้าหมาย ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4)เร่งพัฒนาระบบวัด วิเคราะห์ และระบบสนับสนุน 5)ปรับปรุงกลไกการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายและพื้นที่เป็นฐาน 6)เพิ่มศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข 7)ปรับปรุงระบบบริการที่สร้างคุณค่าตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ 8)ส่งเสริมความเข้มแข็งกลุ่มเครือข่าย สนับสนุนการให้บริการที่สร้างคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ 2. การขับเคลื่อนกลยุทธ์ ผลการทดลองใช้ตามตัวชี้วัดของกลยุทธ์ พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ ดีและดีมาก

References

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ(สาขาบริการปฐมภูมิทุติยภูมิและสุขภาพองค์รวม).(2556).แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาปฐมภูมิทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม.นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชัยวัฒน์ จัตตุพร, ประสงค์ ยมหา และ พิภพ เมืองศิริ. (2550). การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพผสมผสานระหว่างภาครัฐกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. วาสารสารวิจัยระบบสาธารณสุขวิจัย,
1(3-4),หน้า 388-392.

ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2.
วันที่ 4-5 กันยายน 2555. (หน้า 1-11).

ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, นิตยา ภัสสรศิริ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, และ ดิเรก วรรณเศียร. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัย มข. 2(1). หน้า 94-114.

ดาราวรรณ สุขคันธรักษ์(2557). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1). 229-243.

นครชาติ เผื่อนปฐม, & ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2012). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. Silpakorn Educational Research Journal, 4(2), 191-206.

นโยบายและยุทธ์ศาสตร์, สำนักงาน. (2552). คู่มือบริการจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และ ภูดิท เตชาติวัฒน์(2555). การจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน : กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(1), 80.

นฤมล จันทร์สุข, อรุณี หงส์ศิริวัฒน์ และ ปทีป เมธาคุณวุฒิ.(2557). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาล. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 7(4). 25-36.

ป่ากุมเกาะ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. (2556). สรุปผลงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะ ประจำปี 2556. สุโขทัย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะ.

________. (2560). สรุปผลงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะ ประจำปี 2560. สุโขทัย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากุมเกาะ.

ปัณณภัสร์ พงศ์เศรษฐวรา.(2559). การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดชัยนาท. วารสารรัชต์ภาคย์. 10(20). 128-140.

พิทยา จารุพูนผล. (2555). ทิศทางนโยบายทางด้านระบบสุขภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทย.วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(2), 1-3.

ลาวัลย์ เกติมา. (2561). การขับเคลื่อนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพบพระวิทยาคมสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1). 174-191.

วาสนา นาคน้อย. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนาดุษฎีบัณฑิต. สำนักประสานงานดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).

________. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตาก. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 106-117.

อังคณา ภิโสรมย์.(2560, มีนาคม-สิงหาคม). ความรู้ เจตคติ และการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร. วารสารความปอดภัยและสุขภาพ, 10(36), 56-62.

Alameddine, M., Saleh, S., El-Jardali, F., Dimassi, H., & Mourad, Y.(2012). The Retention of Health Human Resources in Primary Healthcare Centers in Lebanon: A Rational Survey. BMC Health Services Research, 12(1), 419.

Baatiema, L., Skovdal, M., Rifkin, S., & Campbell, C. (2013). Assessing Participation in A Community-Based Health Planning and Services Programme in Ghana. BMC Health Services Research, 13(1), 233.

Bhattacharya, I., & Ramachandran, A. (2015). A Path Analysis Study of Retention of Healthcare Professionals in Urban India Using Health Information Technology. Human Resources for Health, 13(1), 65.

Ghanem, M., Schnoor, J., Heyde, C. E., Kuwatsch, S., Bohn, M., & Josten, C. (2015). Management Strategies in Hospitals: Scenario Planning. GMS Interdisciplinary Plastic and Reconstructive Surgery DGPW, 4.

Javanparast, S., Freeman, T., Baum, F., Labonté, R., Ziersch, A., Mackean, T., Reed, R., & Sanders, D. (2018). How Institutional Forces, Ideas and Actors Shaped Population Health Planning inAustralian Regional Primary Health Care Organisations. BMC Public Health, 18(1), 383.

Karamat, J., Shurong, T., Ahmad, N., Waheed, A., & Mahmood, K. (2018). Enablers Supporting the Implementation of Knowledge Management in The Healthcare of Pakistan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(12), 2816.

Kim, C. E., Shin, J. S., Lee, J., Lee, Y. J., Kim, M. R., Choi, A., Park, K. B., Lee, H. J., & Ha, I. H. (2017). Quality of Medical Service, Patient Satisfaction and Loyalty with A Focus on Interpersonal-Based Medical Service Encounters and Treatment Effectiveness: A Cross-sectional Multicenter Study of Complementary and Alternative Medicine (CAM) Hospitals. BMC Complementary and Alternative Medicine, 17(1), 174.

Lee, R., Baeza, J. I., & Fulop, N. J. (2018). The Use of Patient Feedback by Hospital Boards of Directors: A Qualitative Study of Two NHS Hospitals in England. BMJ Qual Saf, 27(2), 103-109.

Marchal, B., Dedzo, M., & Kegels, G. (2010). Turning Around An Ailing District Hospital: A Realist Evaluation of Strategic Changes at Ho Municipal Hospital (Ghana). BMC Public Health, 10(1), 787.

McNatt, Z., Thompson, J. W., Mengistu, A., Tatek, D., Linnander, E., Ageze, L., Lawson, R., Berhanu, N. & Bradley, E. H. (2014). Implementation of Hospital Governing Boards: Views from The Field. BMC Health Services Research, 14(1), 178.

Sadeghifar, J., Jafari, M., Tofighi, S., Ravaghi, H., & Maleki, M. R.(2015). Strategic Planning, Implementation, and Evaluation Processes in Hospital Systems: A Survey from Lran. Global Journal of Health Science, 7(2), 56.

Shi, L. (2012). The Impact of Primary Care: a Focused Review. Scientifica, 2012.

Tseng, C. C., & McLean, G. N. (2008). Strategic HRD Practices as Key Factors in Organizational Learning. Journal of European Industrial Training, 32(6), 418-432.

Yazdi-Feyzabadi, V., Emami, M., & Mehrolhassani, M. H. (2015). Health Information System in PrimaryHealth Care: The Challenges and Barriers from Local Providers’ Perspective of An Area in Lran. International Journal of Preventive Medicine, 6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30