การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ

ผู้แต่ง

  • วรรณรี ตันติเวชอภิกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สารีพันธุ์ ศุภวรรณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, ครอบครัว, การศึกษานอกระบบโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพระดับทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (สภาพทักษะที่เป็นจริง)และระดับความต้องการหรือความคาดหวังในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (สภาพที่ควรจะเป็น)ของครอบครัว2)เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของครอบครัว โดยใช้วิธีการวิจัยในการประเมินความต้องการจำเป็น (Needs Assessment Research) 3) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มครอบครัวที่ประกอบไปด้วยผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุระหว่าง 9-12 ปี และเด็กที่มีอายุระหว่าง 9-12 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ครอบครัว ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) และการหาค่าความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNImodified)

            ผลการวิจัย พบว่า

1.ระดับการรู้เท่าทันสื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ( x̅= 3.81, S.D. = 0.765)และมีความต้องการหรือความคาดหวังในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅= 4.31, S.D. = 0.575)

2.เมื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น พบว่า ครอบครัวมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อในการเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การประเมินค่าสื่อ และการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน โดยมีความต้องการจำเป็นการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อในการวิเคราะห์สื่อมากที่สุด มีค่า PNImodified= 0.15 รองลงมา คือ การเข้าถึงสื่อ และการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน มีค่า PNImodified= 0.14 และการประเมินค่าสื่อ มีค่า PNImodified = 0.09

3. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ได้พัฒนาตามแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนของ Boone(1985) ได้แก่ 1) การวางแผน2) การออกแบบโปรแกรมและการนำไปปฏิบัติ 3)การตรวจสอบและการประเมินผล การกำหนดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 12 แผนการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) นำเสนอสถานการณ์ปัญหา 2) ร่วมกันสร้างกลุ่ม 3) ร่วมกันวางแผนและแสวงหาคำตอบ 4) นำเสนอข้อค้นพบของกลุ่ม 5) ประเมินผลงานและสรุปแนวคิดที่ได้จากข้อค้นพบ และ องค์ประกอบของโปรแกรม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ ผู้เรียนผู้สอน วิธีการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน, (2560). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2562. จาก https://www.dcy.go.th/webnew/upload/news/news_th_20180801144021_4.pdf

กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ4 มิถุนายน 2562. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-สรุปผลที่สำคัญ_Q1.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550).การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. (2559). กรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย.เอกสารประกอบการประชุมโต๊ะกลม การพัฒนากรอบแนวคิดและหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2560).ครอบครัวจะเท่าทันสื่อได้อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562. จากhttp://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2017-01-25-18-02-01

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554). การรู้เท่าทันสื่อ : การก้าวทันบนโลกข่าวสาร. วารสารนักบริหาร. 31(1), 117-123.

ปฐมาภรณ์ ปันอินทร์. (2555). กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต), สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประพรรธน์ พละชีวะ และคณะ. (2560) แนวทางการพัฒนากิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(3), 23-30.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ.สุทธิปริทัศน์. 26(80), 147-162.

Boone, E. J (1985). Developing Program in Adult Education: Prospect Heights : Waveland Press

Boyle. (1981). Planning better programs: McGraw-Hill NewYork.

Oliva, Peter F. (2001). Developing the curriculum. New York; Longman.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2010). Media and informationliteracy. Retrieved 29 July 2019, from http://www.unesco.org/web world/en/information-literacy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30