การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสื่อการจัดการความปวดในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • วรางคณา บุตรศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล โลหะไพบูลย์กุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแอฟพลิเคชั่น, การจัดการความปวด, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแอพพลิเคชั่นสื่อการจัดการความปวดในผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลคือผู้สูงอายุที่มีความปวดภายในระยะเวลา 6 เดือน และเป็นผู้ที่มาใช้บริการคลินิกหมอครอบครัววัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อในการจัดการความปวดผู้สูงอายุมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ 1.ด้านการใช้งานมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากการใช้งานสะดวก ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย และสามารถใช้สื่อได้ด้วยตัวเองเมื่อมีการปวดที่อยู่ที่บ้าน ขนาดและสีของตัวอักษรมีความเหมาะสมกับหน้าจอ อ่านได้สะดวก ส่วนการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อทำให้เกิดการล่าช้าและสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะไม่สามารถใช้สื่อได้ 2.ด้านเนื้อหาผู้สูงอายุมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก เนื้อหาเข้าใจง่าย มีความกระชับ ทำสามารถปฏิบัติตามได้ เนื้อหาที่ได้จากสื่อตรงกับความคาดหวังต่อความต้องการของผู้สูงอายุคือ การจัดการอาการปวดเข่า ปวดขา เละปวดหลัง สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

References

กันตพล บันทดทอง. (2557). พฤติกรรมการยอมรับใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจคนของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต(สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทิพวัลย์ เรืองฤทธิ์และวัชริน สินธวานนท์. (2561). มุมมองของผู้ป่วยไทยที่ปวดเรื้อรัง. วิสัญญีสาร2561 ; 44(3) : 127 – 135.

นุสรา ประเสริฐศรีและยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์. (2556). การจัดการความปวด: ความหลากหลายวัฒนธรรม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 6(2) : 2 – 10.

ปัทมา สุริต. (2559). การจัดการความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 29(4) : 58 – 67.

พิมลอร ตันหัน. (2560). แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.10(3) , 55-62.

พุทธิพร พิธานธนานุกูล. (2561). ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษวารสารพยาบาลสาร. 45(1) : 12 – 25.

พุตธวันแก้วเกตุ. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตตลาด ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0"(Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0)

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ, (2560) สถานการณ์ไทยผู้สูงอายุพ.ศ.2559. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์. (2560) ความปวดในผู้สูงอายุ:ปัญหาซับซ้อนและการจัดการทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 40(3) , 148-159.

Dodd M, Janson S, Facione N, Fawcette J, Froelicher E, Humphreys J. (2001). Advancing the science of symptom management. J Advance Nurse., 33, 668-676.

Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine.(2004) The treatment of Osteoarthritis of Knee by Thai Traditional and Alternative Medicine. Nonthaburi: Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine.

Rudy, T.E. (2007). The impact of chronic low back pain on older adults : A comparative study of patients and controls pain ; 131(3) : 293 – 301.

Thai Traditional Medicine Rehabilitation Foundation and Ayurvedic Medical Association. (1999) 2 decades of Ayurvedic. Bangkok: Jamjuri Product.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30