รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • เฉลิมเกียรติ ตุ่นแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายและเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายได้แก่ครูผู้สอนปฐมวัยครูวิชาการและผู้อำนวยการสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายจำนวนทั้งสิ้น 2,140 คนส่วนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศึกษานิเทศก์ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายจำนวนทั้งสิ้น 24 คนสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            จากการวิจัยพบว่าสภาพการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายในภาพรวมมีระดับการดำเนินการอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านทักษะและกระบวนการสำหรับเด็กปฐมวัยมีระดับการดำเนินการมากเป็นอันดับแรกและอันดับสุดท้ายคือด้านสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จะพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดเชียงรายที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือSEAM/TF MODEL ประกอบไปด้วยS : Skills (ทักษะ) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(3R8C) E : Environment (สิ่งแวดล้อม) การที่จะพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้เกิดกับเด็กปฐมวัยได้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กให้เอื้อต่อการเรียนรู้A : Activities (กิจกรรมการเรียนรู้) กิจกรรมการเรียนรู้เป็นที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองรวมทั้งส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆมีความท้าทายปลอดภัยและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่M : Materials (สื่อการเรียนรู้) สื่อการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้จะช่วยยกระดับทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้ดียิ่งขึ้นกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 4 องค์ประกอบต้องได้รับการส่งเสริมจากครู (Teacher) และครอบครัว (Family) โดยT : Teacher (ครู) ครูเป็นที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในขณะเดียวกันครูก็ควรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เป็นแบบอย่างที่ดีไปด้วยF : Family (ครอบครัว) ครอบครัวเป็นผู้ให้การสนับสนุนให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้โดยการสร้างแรงเสริมการรับฟังการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงฯ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

ไตรรงค์ เจนการ. (2550). การประเมินผลการอ่านวิเคราะห์เขียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

บุญเชิด ชำนิศาสตร์ (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพมหานคร

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและอธิปจิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่:การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลจาก 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562, จากhttp://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/

วศิณีส์ อิศรเสนาณอยุธยา. (2560). การศึกษาแบบSTEM เพื่อการจัดการเรียนการสอน.สืบค้นเมื่อ10ตุลาคม2562, จากhttp://www.preschool.or.th/knowledge_stem.php

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้. (2550). เอกสารประกอบการอบรมครูBBL ระดับอนุบาล: การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรBrain-based Learning ด้านการคิด.กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: สยามสปอรต์ซินดิเค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2574. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

_______. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ.กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย. (2561). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2561. เชียงราย: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย.

อัญชลา เกลี้ยงแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพมหานคร.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608.

Saylor, J.G., W. Alexander and A. J. Lewis. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning.New York: Holt, Rinehart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30