รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นิธิกุล อินทรทิพย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผศ.ดร.สุชาติ ลี้ตระกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผศ.ดร.อัญชลี เท็งตระกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของอาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาครู และเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็นสามระยะ ดังนี้ (1) ศึกษาสภาพปัญหาการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ (3) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผลการวิจัยมีดังนี้ ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารระหว่างการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า มีปัญหาสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ (1) ได้รับสาร ข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ หรือไม่เกี่ยวข้องกับการนิเทศและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รวมทั้งพลาดข่าวสารสำคัญหรือการแจ้งเตือนเพราะข้อความเก่าจะถูกเลื่อนขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อมีข้อความใหม่เข้ามา (2) ไฟล์เอกสาร รูปภาพ และวีดีโอ รวมทั้งอักษรจะเลื่อนขึ้นไปเมื่อมีข้อความใหม่เข้ามา ทำให้ค้นหาค่อนข้างยาก (3)ไฟล์เอกสาร รูปภาพ และวีดีโอที่แนบในแอพพลิเคชั่น ไลน์มีการหมดอายุ ทำให้ไม่สามารถดาว์นโหลดได้อีก (4) ไม่สามารถส่งไฟล์เอกสาร รูปภาพและวีดีโอที่มีขนาดใหญ่ได้ หรือต้องนำไปตัดต่อหรือแปลงไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำได้จากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต (5) ข้อมูล เอกสารและการมอบหมายงานผ่านแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายทำให้มีการสูญหาย กระจัดกระจายไม่สามารถรวบรวมได้ และ (6) ในสถานที่สัญญาณ อินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ทำให้ไม่สามารถรับ-ส่งข้อมูล ข้อมูลตกหล่นสูญหาย และไม่สามารถนำข้อมูลออกมาใช้หรือแก้ไขได้ สำหรับความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร พบว่า ควรมีเครื่องมือหรือระบบที่จะช่วยในการแจ้งเตือน ติดตามและรับ-ส่งข่าวสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ โดยแสดงให้เห็นความก้าวหน้าและความสำเร็จของงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย ผลการประเมิน เอกสารสำคัญในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสามารถใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู PDE-IT ที่สร้างขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงานระหว่างนักศึกษา อาจารย์ครูพี่เลี้ยง และผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) P (Planning) การวางแผน (2) D (Doing) การปฏิบัติ (3) E (Evaluation) การประเมินผล และ (4) IT (Information Technology) เทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมทั้งได้จัดทำขั้นตอนการใช้งานรูปแบบ และรูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

References

จิรวรรณ ประภานาวิน. (2558). ศึกษาสภาพและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอนของครูระดับประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

ธิดา ขันดาวงศ์ และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแนวใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารราชพฤกษ์,12(1), 45-53.

พิเศษ ปั้นรัตน์. (2556). เอกสารประกอบการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง หลักและวิธีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นายู ลา. (2008). ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=75299dca37d54f8c

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอน และการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.

อภิญญา รัตนโกเมศ และชัญญา อภิปาลกุล. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,32(4), 180-191.

อมรรัตน์ พวงทอง. (2555). แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหางาน โรงเรียนบ้านวังลุง เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Beartai. (2562). ใช่ Line เพื่อคุยงานดีจริงหรือไม่. ค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562, จาก https://www.beartai.com/article/tech-article/69292

Nilgun and M. Fatih. (2011). Using Information and Communication TechnologiesIn School Improvement. In The Turkish Online Journal of Educational Technology, 10(1), 223-231.

THUMBS UP ชุมชนของนักเรียนการตลาดตลอดชีวิต. (2562). Infographic :สถิติผู้ใช้ของ LINE ประเทศไทยในปี 2019. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก https://www.thumbsup.in.th/line-th-stats-2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30