กลยุทธ์การยกระดับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • อำพล ฉัตรไชยาฤกษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • รศ.ดร.ปาจรีย์ ผลประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • รศ.ดร.เพชรา บุดสีทา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตาก 2) ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของผู้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตาก3) พัฒนากลยุทธ์การยกระดับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตาก4) ทดลองและประเมินกลยุทธ์การยกระดับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตากดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยขั้นตอนที่ 1 แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 4 คู่มือการทดลองใช้กลยุทธ์และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตาก

              1.1 สภาพ การประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตาก พบว่า ด้านการตลาด ดำเนินการพัฒนารูปแบบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับให้มีความทันสมัยและ               ตรงต่อความต้องการของลูกค้าด้านการผลิตมีการพัฒนารูปแบบการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับด้านการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มีการวางแผนด้านการเงิน ด้านการจัดการองค์กรธุรกิจ มีการวางแผนการจัดการธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

              1.2 ปัญหาการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตาก พบว่า ในภาพรวมเป็นปัญหาในระดับ มาก เรียงปัญหารายด้านจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1. ด้านช่องทาง               การจำหน่าย 2. ด้านผลิตภัณฑ์3.ด้านการเงิน4. ด้านการจัดการองค์กรธุรกิจ 5.ด้านการส่งเสริมการตลาด 6. ด้านราคา

              1.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตาก พบว่าปัจจัยภายใน 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านความสามารถในการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการจัดการองค์กร ปัจจัยภายนอก 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคมและวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจด้านกฎหมายและการเมืองและด้านเทคโนโลยี

  1. ความต้องการของผู้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตากเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ พบว่า เหตุผลในการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ มีดังนี้ ซื้อเพื่อใช้เอง สินค้ามีคุณภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตาก ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการกำหนดราคาและกระบวนการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพและด้านการจัดจำหน่าย
  2. กลยุทธ์การยกระดับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตาก ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็นกลยุทธ์ 6 กลยุทธ์ 18 ตัวชี้วัดและ18 มาตรการ
  3. ผลการทดลองใช้และผลการประเมินกลยุทธ์การยกระดับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดตาก ผลการทดลองใช้กลยุทธ์ พบว่ากลยุทธ์ที่นำไปทดลองใช้ จำนวน3 กลยุทธ์ คือกลยุทธ์ที่1 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจอัญมณี และเครื่องประดับกลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาเทคนิคการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ กลยุทธ์ที่ 6พัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับผลการทดลองใช้ สามารถนำไปใช้ดำเนินงานได้จริง โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลคู่มือที่สร้างขึ้น ตามตัวชี้วัดกลยุทธ์และผ่านเกณฑ์ตามที่ตัวชี้วัดกลยุทธิ์ ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด ผลการประเมินกลยุทธ์การยกระดับการประกอบธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดตาก พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดและ มาตรการ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

References

จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2554). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรขา ธงธวัช (2550). กลยุทธ์การบริหารปัจจัยการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ.(องค์กรมหาชน) (สวอ.). ทิศทางเครื่องประดับและอัญมณี ปี2557. ออนไลน์. [2557, มิถุนายน 14]

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขา อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต,
http://www.sme.go.th [2557, มกราคม 14].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30