การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • สรวงพร กุศลส่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, นวัตกรรมปฐมวัย, กระบวนการวิจัย, ระบบพี่เลี้ยง, การรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยงขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบวัดการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบวัดความรู้ด้านกระบวนการวิจัย และแบบสังเกตพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้การประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ใช้สถิติทดสอบค่า t (t-test) และค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพัฒนาการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของการจัดการเรียนรู้ที่จะต้องเสริมสร้างให้กับนักศึกษามี 4 ด้าน คือ 1) การตระหนักรู้ปัญหา 2) การวางแผนการแก้ปัญหา 3) การปฏิบัติวิธีการแก้ปัญหา และ 4) การตรวจสอบผลการแก้ปัญหา และแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยงสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนคือขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้ ขั้นที่ 2 การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การกำหนดเป้าหมาย ขั้นที่ 4 การวางแผนการเรียนรู้ ขั้นที่ 5 การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ขั้นที่ 6 การขยายความร่วมมือ ขั้นที่ 7 การสรุปผลองค์ความรู้ และขั้นที่ 8 การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด
  2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นคือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการเรียนการสอน 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า กิจกรรมตามกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบเป็นลำดับขั้นตอน สามารถนำไปดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้
  3.  ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นพบว่านักศึกษา หลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง มีความรู้ด้านกระบวนการวิจัยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สูงขึ้นร้อยละ 92
  4.  ผลการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมปฐมวัยด้วยกระบวนการวิจัยและระบบพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างการรู้คิดในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของกระทรวงศึกษาธิการ (เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ ง.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทบวงมหาวิทยาลัย. (2540). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. ส่วนวิจัยและพัฒนา. สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา.

พิทยาภรณ์ มานะจุติ. (2559). หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย. เชียงใหม่. ส.การพิมพ์.

พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐาน วิชาการ พัฒนาหลักสตรสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เพื่อความเป็นผู้นาของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2549). เอกสารคำสอน การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (สำเนา).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สรวงพร กุศลส่ง. (2554). การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครูปฐมวัย. (ทุนวิจัย วช.)

สรวงพร กุศลส่ง. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบโครงการโดยใช้ICT เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และเข้าร่วมวิจัยกับ สกว. (โครงงานบนฐานวิจัย RBL/PBL) :เพชรบูรณ์.

สิทธิชัย ชมพูพาทย์. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิมล ว่องวาณิช. 2555. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. Executive Journal มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545.

Flavell, J.H. (1976). The Development of Metacommunication. Paper presented at the Twenty–First International Congress of Psychology, Paris.

Flavell., J.H. (1979). Mata cognition and cognitive monitoring. American Psychologist, 34, 10: 906-911.

Joyce, B. & Weil, M. (2000). Models of Teaching. (6th ed.) Boston : Allyn and Bacon.

Meltzer,L.,& Montague,M. (2001). Strategies learning in students with learning disabilities : What travel we learned. In B.Keogh 7 D. Halloran (Ed.) Research and global perspectives in learning disabilities: Essays in honor of William j.

Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30