ผลกระทบของการใช้เครื่องมือการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชลิต ผลอินทร์หอม คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ดร.ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์, ความได้เปรียบทางการแข่งขันของกิจการ, ผลการดำเนินงานของกิจการ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของการใช้เครื่องมือการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed methods) โดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Qualitative and quantitative research methods) ในการวิจัยเรื่องเดียวกัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ช่วยในการค้นคว้าหาคำตอบและยืนยันคำตอบ (Exploratory and Confirmatory Questions) ซึ่งจะช่วยทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ (Credibility) มากขึ้น การศึกษานี้มีผลการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่สอดคล้องกันพบว่าในสภาวะการแข่งขันทางการค้าทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบการผลิตและการบริหารให้ยืดหยุ่นตามสภาพการตลาด จึงก่อให้เกิดการนำเอาแนวคิดของการบริหารต้นทุนยุคใหม่ มาทำการพัฒนาหลักการและการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้เครื่องมือในการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ถือเป็นเครื่องมือต้นทุน ได้แก่ ต้นทุนคุณลักษณะ (Attribute costing) ต้นทุนคุณภาพ(Quality Costing) ต้นทุนเป้าหมาย(Target costing) ต้นทุน/การบริหารฐานกิจกรรม(Activity Based Costing / Management) ต้นทุนวงจรชีวิต (Life-cycle costing)และการจัดการห่วงโช่คุณค่า (Value-chain costing) นำมาเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงข้อมูลหลักและข้อมูลรองในการปฏิบัติงาน สำหรับสิ่งที่จะมาช่วยในการตัดสินใจว่าผู้ประกอบการหรือองค์การนั้น ๆ สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้เหนือกว่าคู่แข่งแล้วหรือไม่ ได้แก่ 1) การที่องค์การสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านการความแตกต่าง (Differentiation) โดยจะต้องมีสินค้าหรือบริการที่แตกต่างและเหนือกว่าคู่แข่ง 2) ต้องเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) เมื่อธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าคู่แข่งได้ ย่อมสามารถที่จะตั้งราคาขายให้ถูกกว่าคู่แข่ง จนเป็นที่มาของยอดขายและกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ และ 3) การเป็นผู้นำเฉพาะจุด (Focus) คือการเลือกที่จะแตกต่างเฉพาะจุดหรือการเลือกที่จะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของตลาดก็เพียงพอแล้วในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ นอกจากนี้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันสามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของกิจการ ( Firm Performance) ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ( Financial Performance) หมายถึง ตัวเลขกำไรขาดทุนของกิจการ และ 2) ผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่การเงิน ( Non-Financial Performance) รวมถึงการนำไปสู่โอกาสในการทำกำไร และอุปสรรคต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรในอนาคต โดยสามารถทำให้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำข้อมูลต้นทุนไปประยุกต์ใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารต้นทุนการผลิตแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในตลาดปัจจุบัน ทำให้ผู้บริหารยังต้องรู้จักใช้วิธีการวิเคราะห์และการวางแผนต้นทุนที่ถูกต้องและเหมาะสมและเท่าทันกับสถานการณ์ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจด้วยการพัฒนาระบบการบริหารแบบดั้งเดิมให้เป็นระบบการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

References

กัลยา วรรณสวัสดิ์, อิสราภรณ์ ทนุผล และ เนตรดาว ชัยเขต. (2559) . ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนคุณภาพกับผลการดำเนินงานขององค์กร.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(1), 37-62.

กุลชญา แว่นแก้ว. (2559).ผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการต้นทุนที่เหมาะสมที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและการได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตการค้าชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 46-64.

จิรประภา ประจวบสุข, จุลสุชาดา ศิริสม และ นภาภรณ์ พลนิกรกิจ. (2556) .ผลกระทบของการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทย.วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(1), 26-35.

ธัญญธร ศรีวิเชียร. (2560) . ผลกระทบของการบริหารต้นทุนเป้าหมายที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 204-217.

Abdelraheem Abubkr, Serajeldin Badreldin & Jedo Aldouma.(2017). Strategic Cost and Activating Competitive Advantage. International Journal of Trend in Scientific Research and Development, 1(4), 337-342.

Al-Naser Khalis. (2017) . The Integration between Strategic Cost Management Techniques to Improve the Performance of Iraqi Manufacturing Companies. Asian Journal of Finance & Accounting, 9(1), 210-223.

Alsoboa Sliman, Al-Ghazzawi Ali & Joudeh Abdulhakim. (2015) .The impact of strategic costing techniques on the performance of Jordanian listed manufacturing companies. Research Journal of Finance and Accounting. 6(10), 116-127.

Anna Afonina. (2015). Strategic Management Tools and Techniques and Organizational Performance: Findings from the Czech Republic. Journal of Competitiveness, 7(3). 19-36.

Alamri Mohammed Ahmad. (2018). Strategic Management Accounting and the Dimensions of Competitive Advantage: Testing the Associations in Saudi Industrial Sector. 48 International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 8(2), 48-64.

Elyazid Sahri. (2016). Performance Measurement: Quality, Cost, and Time Is New System: So Called Strategic Cost Management. Research Journal of Finance and Accounting. 7(17),1-11.

Maurilio Alves de Melo & Rodrigo José Guerra Leone. (2015). Alignment between Competitive Strategies and Cost Management: a Study of Small Manufacturing Companies. This article has a Creative Commons License - Attribution 3.0 Not Adapted, 12(5), 78-96.

Moslem Sedaghati, Hamid Ravanpak Noodezh , Ali Amiri.(2015). Investigate The Relationship Between Cost Management Strategy, Organization Size, Growth Options and The Performance Of Companies In Tehran Stock Exchange. Ciência e Natura, Santa Maria, 37(1), 104−115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01