กลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย จรวุฒิพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมชัย วงษ์นายะ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, กลยุทธ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

กลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย   2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย 3) เพื่อทดลองและประเมินกลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัยที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 113 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 17 คน 2. พัฒนากลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย    โดยศึกษาแนวทางการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ประสบผลสำเร็จ ด้วยการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและจัดทำร่างกลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการและตรวจสอบคุณภาพของกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 3. การทดลองและประเมินกลยุทธ์ ใช้การสนทนากลุ่มเพื่อสรุปผลการทดลองใช้กลยุทธ์และประเมินกลยุทธ์โดยใช้แบบประเมินคุณภาพของกลยุทธ์

               ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดูแลผู้สูงอายุระยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย พบว่าด้านข้อมูลมีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุ ด้านการจัดกิจกรรมมีการดำเนินการในด้านต่างๆสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมสร้างรายได้ ด้านผู้ดูแลมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีทั้งที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมงตามคุณสมบัติที่กรมอนามัยกำหนด และอาสาสมัครที่ไม่ผ่านการอบรมด้านคุณภาพการบริการมีการประเมินคุณภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านด้านทันตสาธารณสุขมีการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งด้านระบบการดูแล มีการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจนปัญหาที่อยู่ในระดับมากได้แก่ปัญหาด้านผู้ดูแลจำนวนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เพียงพอกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีเพิ่มขึ้น และทักษะ ความรู้ในด้านการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้องยังไม่เพียงพอ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าปัจจัยภายใน ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการปัจจัยภายนอก ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการเมืองกฎหมาย และด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุ 2.ผลการพัฒนากลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์ 3.ผลการทดลองและประเมินกลยุทธ์การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดสุโขทัยมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ในระดับมาก

References

จารีย์ ปิ่นทอง , ธนภรณ์ จิตตินันทน์ ปภัสสร แสวงสุขสันตและ ณัคนางค์ กุลนาถศิริ. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานในไทย . ธนาคารแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

นิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุล .( 2555) รายงานสังเคราะห์ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับท้องถิ่นใน จังหวัดนครราชสีมา” The Knowledge sharing of the quality development of elderly life in sub-district area in Nakornrajshima province” (สัญญาเลขที่TGRI55002) แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ : พัฒนาพื้นที่ ต้นแบบและปัจจัยสำคัญ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ไพศาล ลิ้มสถิต( 2553). ความสำคัญของข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 373.

สมเกียรติ วัฒนศิริชัย. (2557).กรณีศึกษาในต่างแดนวิกฤติผู้สูงอายุวันนี้ไทยตื่นหรือยัง. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 เมษายน 2557.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. ( 2540 ). กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ กรุงเทพฯ : มติชน

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข..( 2561 ).แนวทางปฏิบัติการจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงและค่าบริการสาธารณสุข. กองทุนหลักประกันสุขภาพ. กรุงเทพฯ

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.( 2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11( พ.ศ.2555-2559 ).โรงพิมพ์องค์กาiสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ .กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01