ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการการจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100

ผู้แต่ง

  • กนกรส พานิชย์พิพัฒน์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • รองศาสตราจารย์กัลยาภรณ์ ปานมะเริง คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการ, การจัดการกำไร, มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ สัดส่วนการถือครองหุ้นรายใหญ่สัดส่วนจำนวนของคณะกรรมการอิสระ และการควบรวมตำแหน่งของประธานกรรมการและประธานฝ่ายบริหารที่มีต่อการจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ คือรายงานประจำปี และแบบแสดงรายการประจำปีที่รวบรวมจากระบบสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Market Analysis and Reporting Tool : SETSMART) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการสรุปลักษณะข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากบริษัทกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Correlation) และใช้การวิเคราะห์ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากข้อมูลทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 ในช่วงปี 2557-2561 จำนวน 42 บริษัท

ผลการศึกษาพบว่า ระดับคะแนนของการกำกับดูแลกิจการไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไรและมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์สัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไรและมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์สัดส่วนคณะกรรมการอิสระไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไร แต่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์บุคคลที่ควบรวบตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานบริหารงานมีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไรและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ภาณุพงษ์ โมกไธสง และคณะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่าง กลไกการกำกับดูแลกิจการโครงสร้างของผู้ถือหุ้น ต้นทุนตัวแทนกับคุณภาพกำไร ของกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญญา ขันธวิทย์, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และเดือนเพ็ญ จันทร์ศิริศรี. (2552). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ.กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ณัฐพล คำนวณผล.(2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพบรรษัทภิบาล อัตราส่วนทางการเงิน และผลตอบแทนของหลักทรัพย์.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). กลไกบรรษัทภิบาลเพิ่มมูลค่ากิจการได้จริงหรือไม่.วารสารบริหารธุรกิจปีที่ 32 ฉบับที่ 121 มกราคม - มีนาคม,หน้า1-6.

บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของและผลการดำเนินงานของบริษัทจัดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณพร ศิริทิพย์. (2555). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทคณะกรรมการตรวจสอบและโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับคุณภาพกำไร.วิทยานิพนธ์ปริญญา ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพริน ใจทัด. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไร.วิทยานิพนธ์ปริญญา ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2558). กลไกลการกำกับดูแลกิจการที่ดี และผลการดำเนินงานของกิจการ : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 67-77

วิภาดา ภาโนมัยและนงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2559). โครงสร้างคณะกรรมการบริหารกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปีที่5 ฉบับที่2 หน้า 44-55.

Jones, J. (1991). Earning management during import relief investigations.Journal of Accounting.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01