ผลกระทบของสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนาชัย แจ่มเปี่ยม คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ผศ.ดร.ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ผลกระทบสินทรัพย์และหนี้สิน, ผลประกอบการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานประจำปีและข้อมูลทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2561จำนวน 230 บริษัท และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า สินทรัพย์ ไม่มีผลกระทบต่ออัตราส่วนผลตอบแทนกำไร สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มีผลกระทบต่ออัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และสินทรัพย์รวมมีผลกระทบต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ในขณะที่ หนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินไม่หมุนเวียน มีผลกระทบต่ออัตราส่วนผลตอบแทนกำไร อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และหนี้สินรวม มีผลกระทบต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

References

แก้วมณี อุทิรัมย์. (2556).ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนที่คาดหมายของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์การบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.(2561). สืบค้นจาก : http://www.set.or.th/set/setInfographic.doc

จิรัตน์ สังข์แก้ว.(2540).การลงทุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทิพวรรณ แม่นสำรวจการ. (2550). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธันยกร จันทร์สาส์น. (2558).ความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ของประเทศไทย. งานวิจัยทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เนาวรัตน์ ศรีพนากุล. (2556).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรยุทธ ยิ่งดำรง. (2554).ปัจจัยที่มีผลต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทครอบครัวกับบริษัทที่ไม่เป็นธุรกิจครอบครัวที่ชดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร หมวดธุรกิจการเกษตร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วัชธนพงศ์ ยอดราช. (2560). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทำกำไรและความเสี่ยงที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI).วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 80-89.

วันเพ็ญ ภูมิวิเศษ. (2554).การใช้อัตราส่วนทางการเงินในการพยากรณ์ความล้มเหลวของบริษัทที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิไลวรรณ ภานุวิศิทธิ์แสง.(2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุพัฒนา นาคประดิษฐ์. (2562).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/nakpradittax/ray-laxeiyd-wicha/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-kar-baychi/sinthraphy

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552).มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ปรับปรุงปี 2552. สืบค้นจาก :http://www.tfac.or.th/Article/Detail/67370

สุภาพร ประเสริฐสิริเจริญ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อสินทรัพย์รวมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุภาวลัย วงศ์ใหญ่. (2560).ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีย์พร จันทร์งาม. (2555).การวิเคราะห์งบการเงินของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร กรณีศึกษา บริษัท สุรพล ฟู้ดส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัญญา ขันธวิทย์, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และเดือนเพ็ญ จันทร์ศิริศรี. (2552). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01