กระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อการรู้ดิจิทัลและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • เรือนทอง ไวทยะพานิช คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรฉัตร์ สุปัญโญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แผนกลยุทธ์ชุมชน, การรู้ดิจิทัล, การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อการรู้ดิจิทัลและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้การรู้ดิจิทัลเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)   โดยศึกษากับ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ประธานชุมชนวัดปุรณาวาส คณะกรรมการชุมชนวัดปุรณาวาส ผู้แทนผู้ใหญ่ในชุมชน จำนวน 24 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน 6 คน รวมจำนวน 30 คน ใช้เทคนิค A-I-C, SWOT, F.S.C การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการจัดเวทีชุมชนเป็นเครื่องมือวิจัยในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายสนใจใช้สมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นไลน์และเฟสบุ๊กเพื่อการรู้ดิจิทัลและการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา(Content Analysis)

ผลศึกษาพบว่ากระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับชุมชนมี 6 ขั้นตอน คือ 1.ระบุทีมวางแผน และเตรียมความพร้อม 2.ศึกษาสภาพการณ์ ปัญหา ความต้องการ และกำหนดประเด็นที่จะพัฒนา 3.กำหนดกลยุทธ์และร่างแผนกลยุทธ์ชุมชน 4.นำร่างแผนกลยุทธ์ไปใช้งานจริง 5.การติดตามและประเมินผลร่างแผนกลยุทธ์ชุมชน 6)ปรับปรุงแก้ไขร่างแผนกลยุทธ์ชุมชนให้เป็นแผนกลยุทธ์และประกาศใช้ ทั้งนี้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของชุมชนมากกว่าการยึดกรอบทฤษฎีหรือขั้นตอนทางวิชาการ ชุมชนมีความเห็นว่ากระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ควรให้ความสำคัญกับการนำแผนกลยุทธไปใช้จริง การติดตามและประเมินผล โดยพบว่าขั้นตอนการติดตามและประเมินผลมักมีปัญหา สำหรับแผนกลยุทธ์ชุมชนที่พัฒนาขึ้นมี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมร่วม กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด กิจกรรม และแผนปฏิบัติการ

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2553)คู่มือแนวทางการบูรณาการแผนชุมชน.[ออนไลน์] แหล่งที่มา: www.fisheries.go.th › mf-emdec › mainweb › present[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556) ชุมชน. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา

ธนัย ชรินทร์สาร และนครินทร์ วนกิจไพบูลย์.Strategy Process เครื่องมือสร้างกลยุทธ์ด้วยตัวเองให้อยู่รอดในยุค Disruption The Secret Sauce EP.167[ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://www.youtube.com/watch?v=90twTQ4LRdI&t=2838s[เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2562]

ปกรณ์ ปรียากร.(2558). การวางแผนกลยุทธ์ : แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม

ปัทมาวลัย รัตนพลและนครินทร์ วนกิจไพบูลย์.เรียนรู้มากแค่ไหน ถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่นับเป็นการพัฒนา | The Secret Sauce EP.155[ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=nBlDJMOtSJI[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]

ประภัสร์ อ่อนฤทธิ์และคณะ. (2558).การพัฒนากลยุทธ์การจัดทำแผนชุมชนของหมู่บ้านในจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร รายงานสืบเนื่องจากการการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceeding) เครือข่ายบัณทิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15

ประเวศ วะสี (2562).นิเวศทางปัญญาของมหาชน ยุทธศาสตร์ทางปัญญาพาชาติออกจากวิกฤต.[ออนไลน์] https://waymagazine.org/prawes-wasi-speech/[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]

ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ.(2555). การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

ยศ บริสุทธิ์.(2558). การศึกษาชุมชน : แนวคิดการวิจัย และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น

โล่เงิน(นามแฝง) ‘บิ๊กปั๊ด’ เสริมเขี้ยว ‘นักสืบ’อาชญากรรมออนไลน์พุ่ง ยกทฤษฎี ‘หน้าต่างแตก’แก้ .มติชนสุดสัปดาห์. ฉบับประจำวันที่ 3-9 มกราคม พ.ศ. 2562 ปีที่ 40 ฉบับที่ 2055

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง.(2561) คู่มือพลเมืองดิจิทัล. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา.(2560,/31/ตุลาคม).เน็ตประชารัฐ ต้องทำได้มากกว่าเล่นโซเซียล.เดลินิวส์

ศิริวิช ดโนทัย.(2562).กระบวนการวางแผนกลยุทธ์.[ออนไลน์]แหล่งที่มา:http://www.nbc.mcu.ac.th/wp-แหล่งที่มา:content/uploads/2018/03/0160%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C-33f-.pdf [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2562]

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2562).สรุปผลการสำรวจสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562[ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.onde.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าวทั้งหมด/662/TH-TH

อุทิศ ขาวเธียร.(2549).การวางแผนกลยุทธ์.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 3

Bawden, D. (2008). Origins and Concepts of Digital Literacy. In Digital Literacies: Concepts, Policies & Practices. Ed. By C. Lankshear & M. Knobel. New York: Peter Lang

UNESCO.(2018).A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for Indicatior 4.4.2 Retrived 02 ธันวาคม 2562, from http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents/ip51-global-framework-reference-digital-literacy-skills-2018-en.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01