ผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อการวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Bhanaphan Petchpaisarn คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

อัตราส่วนทางการเงิน, การวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้น, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อการวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงิน รายงานประจำปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2561 จำนวน 230 บริษัท และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า ด้านสภาพคล่องทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว
มีผลกระทบต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว มีผลกระทบต่ออัตราส่วนราคาต่อยอดขายต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านลูกหนี้การค้า พบว่า ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนราคาต่อยอดขายต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านสินค้าคงเหลือ พบว่า ระยะเวลาในการจำหน่ายสินค้า มีผลกระทบต่ออัตราส่วนราคาต่อยอดขายต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านหนี้สิน พบว่า ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระหนี้ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนราคาต่อยอดขายต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2562). หนี้สิน (Liabilities). ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 11/10/2562 จาก https://cad.go.th/cadweb_client/ewt_news.php?nid=2526&filename=index

กนกวรรณ พงศ์ชัยประสิทธิ์. (2557). การวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย เปรียบเทียบกับธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกริก.

กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์. (2557).ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อฐานะการเงินและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI). วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กิตติธัช ถนัดพจนามาตย์. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แก้วมณี อุทิรัมย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนที่คาดหมายของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จิราพร เหง้าดา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิชาเอกการเงินและการธนาคาร. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐพล จักรภีร์ศิริสุข. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562).ประวัติและบทบาท. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.set.or.th. (2562, 15 กุมภาพันธ์).

ปนัดดา แก้วมณี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัทที่ถูกประเมินในระดับดีเยี่ยมและระดับดี จากสมาคมส่งเสริม
ผู้ลงทุนไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปราณฤาทัย บุญเพ็ง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดหลักทรัพย์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจอุตสาหะกรรมยานยนต์. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปิยากร คุปตเมธี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสินค้าคงเหลือกับอัตราผลกำไรของบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาสกร ปาละวัล. (2560) การวิเคราะห์งบการเงินเปรียบเทียบระหว่างบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศิริวรรณ แก้วศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนการจ่ายเงินปันผลของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศึกษากรณี หมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). งบการเงิน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :http://www.tfac.or.th (2562, 14 กุมภาพันธ์).

สัณฑพงศ์ คล่องวีระชัย. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โสภณ บุญถนอม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุไร วงษ์ลา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Aydogan and Gursoy. (2000). P/E and PBV Ration as Predictors of Stock Returns in Emerging Equity Market. Emerging Markets Quarterly winter: 66-67

Foye, James. (2013). The Relationship Between Financial Ratios and Stock Market Returns In The East European Members of The EU. University of Ljubljana.
Jonathan Lewellen. (2002). Momentum and autocorrelation in stock returns. Review of Financial
Studies 15 (2), 533-563.

Jonathan Lewellen.(2004). Predicting Returns with Financial Ratios. Journal of Financial Economics 74 (2004), 209-235.

Prempeh, K.B. (2016). The Impact of Efficient Inventory Management on Profitability: Evidence from Selected Manufacturing Firms in Ghana. International Journal of Finance and Accounting, 5(1), 22-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01