รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง

ผู้แต่ง

  • Porrawan Doungrat คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อาชัญญา รัตนอุบล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรฉัตร์ สุปัญโญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย, ผู้สูงอายุในสังคมเมือง, การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและองค์ประกอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและสื่อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 2) สัมภาษณ์ผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสารและสื่อ ทำการเก็บข้อมูลจำนวน 40 รายการ2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 112 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมืองมีที่มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและตัวของผู้สูงอายุเอง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้จากการมีทัศนคติเชิงบวกต่อตนเอง ใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมาในอดีตผสานกับความท้าทายใหม่ๆ ขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิต 2) องค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย (1) หลักการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง (2) พื้นที่เรียนรู้ตามอัธยาศัย (3) ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (4) ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (4) ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (5) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (6) ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และ (7) วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับผู้สูงอายุในสังคมเมือง

References

กำธร หลุยยะพงศ์ และกาญจนาแก้วเทพ. 2555. การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย. ใน กาญจนา แก้วเทพ (บก.) สื่อเก่า-สื่อใหม่ สัญญะอัตลักษณ์อุดมการณ์. หน้า 74-135. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2544). การศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2560. วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราโมทย์ ประสาทกุล, ศุทธิดา ชวนวัน และกาญจนา เทียนลาย. (2555). ผู้สูงอายุ: คนวงในที่จะถูกผลักให้ไปอยู่ชายขอบ. วารสารประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555

แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562. จาก http://www.dop.go.th/th/laws/1/28/766

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2561). การศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุธีรา บัวทอง และคณะ. 2558. ผู้สูงอายุกับเหตุผลในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1,2 (มิถุนายน 2557- มีนาคม 2558) หน้า 6-17.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2550). โครงการวิจัยการศึกษาดำเนินงานโครงการขยายผลการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรทัย อาจอ่ำ. (2553). แก่แล้วไม่มีคุณค่าจริงหรือ? บทสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของผู้สูงอายุ.ในสุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุณยมานนท์ (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม 2553: คุณค่าของผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล หมายเลข 372. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สำนักพิมพ์สุธีรา บัวทอง และคณะ. 2558. ผู้สูงอายุกับเหตุผลในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1,2 (มิถุนายน 2557- มีนาคม 2558) หน้า 6-17.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2554).รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง การศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิตของผูสูงอายุไทย. ทุนสนับสนุนโดย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผูสูงอายุไทย (มส.ผส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

อาชัญญา รัตนอุบล. (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Charles, E. O. (1971). Nature of Communication Between Humans. The Process Communication.New York: Harper & Row.

Knowles, M. (1975). Andragogy in Action. San Francisco Jossey Bass.

Knox, David, SitawaKimuna and Marty Zusman. (2005). College student views of the elderly:somegender differences. College Student Journal, March. Available from http://findarticles.com/p/ articles/mi_m0FCR/is_1_39/ai_n136603928/?tag=content;co11. (Access 25 October 2019).

Parsons, Alison. (1993). Attitudes to the elderly. Available from http://www.ciap.health.nsw.go.au/ hospolic/stvincents/1993/a06.html. (Access 25 October 2019)

Pozgaj, Z. &Vlahovic, N. (2010), The Impact of Web 2.0 service on Informal Education. MIPRO, 2010 Proceedings of the 33rd International Convention. [Online]. Available: August 8,2011 from http://ieeexplore.ieee.org/(Access date: November25, 2016). (Information Technology and Communication to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01