ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สวรส สรกล คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ดร.กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์, ความสามารถในการทำกำไร, ราคาหลักทรัพย์, ผลตอบแทนหลักทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ใช้ตัวแปรต้น คือมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการทำกำไร ตัวแปรตาม คือราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทนหลักทรัพย์ เป็นการศึกษาแบบบรรยาย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 -2561 จำนวน 230 บริษัท และใช้แบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการศึกษา คือการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ จากการศึกษาพบว่า ความสามารถในการทำกำไร ได้แก่ กำไรสุทธิต่อหุ้นและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือมีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์อัตราส่วนกำไรขั้นต้นและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญของความสามารถในการทำกำไรมากกว่ามูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือให้กับผู้ลงทุนและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินงานและวางแผนต่อไป

References

เขมณัฐสิตา โชตินลินทิพย์. (2554) .ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม set 100.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิชานันท์ แอดสกุล.(2558).ตัววัดผลการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์และมูลค่าเพิ่มทางการตลาด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบัญชีมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประภัสสร กาพย์เกิด.(2559).ผลกระทบของการวัดผลการดำเนินงานโดยวิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและวิธีอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชนี จุลรังสี(2557).การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added-EVA) กรณีศึกษา:การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.).วารสารการจัดการวิทยาศาสตร์(ฉบับที่ 2).กรกฎาคม-ธันวาคม(2557).

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.แนวทางสู่ความสำเร็จแห่งการบริหารองค์กร(ออนไลน์).สืบค้นจาก:http://www2.fpo.go.th/FPO/index2.[17 มีนาคม 2562]

สุธารัตน์ นรขุน.(2553).ความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิ กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน กำไรส่วนที่เหลือและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์กับผลตอบแทนของหุ้นในกลุ่ม SET100. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สินี ภาคย์อุฬาร.(2558).ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

นันทาภา กุลสัมพันธ์โกศล. (2556). การใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินในการเลือกสินทรัพย์ลงทุน:กรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01