ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทางอิเมลล์ของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
วิชาชีพบัญชี, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทางอิเมลล์ของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตรวจสอบความสัมพันธ์ด้วยการหาค่าความแปรปรวน (Tolerance และค่า VIF) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s Correlation Coefficient ทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุอยู่ระหว่าง 35-45 ปีมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีประสบการณ์ในการทำบัญชีมากกว่า 15 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท และส่วนใหญ่มีสถานที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะด้านวิชาชีพบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ทำบัญชีมีทักษะด้านวิชาชีพบัญชีในด้านความรู้หลักในวิชาชีพบัญชีอยู่ในระดับมากและในด้านความรู้ในมาตรฐานการบัญชีอยู่ในระดับมากและมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ทำบัญชีมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีอยู่ในระดับมากและในด้านการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก และด้านการประมวลผล ติดตามและประเมินผลข้อมูลทางบัญชีอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยของทักษะด้านวิชาชีพบัญชี และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบ e-Tax Invoice by E-mail ได้รับการสนับสนุนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
References
กิตติ พศทูปิยะ (2560). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและสารสนเทศของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารรวบรวมและเวปไซต์ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. ศูนย์การศึกษาชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฐิติพร กิจไพบูลทวี และคณะ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดวงจันทร์ แก้วกงพาน (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. วันที่ 21 กรกฎาคม 2560; ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่างวังจันทร์ริเวอร์วิว. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม; 2560. หน้า 1000-8.
ทิพวรรณ์ ศิริมาตร. (2555). ผลกระทบของคุณลักษณะหลักฐานการสอบบัญชีที่ดีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคาม), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) (2560). คลังความรู้. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :http:// www.etda.or.th/laws-sharing.html.
ไอลดา พหลทัพ, อัครเดช ฉวีรักษ์ และสลักจิต นิลผาย (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ทางการบัญชีสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของนักวิชาการเงินบัญชีและพัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2561).
International Education Standards (IES) 6, (2015). Initial Professional Development – Assessment of Professional Competence (Revised) (Effective on July1, 2015)ISBN 978-1-60815-139-4, English. International Accounting Education Standards Board (IAESB).
Partnership for 21 st Century Skills. 2011 [online] www.p21.org