การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สายันต์ ศิลาโชติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2)เพื่อศึกษาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรองค์ประกอบภายในของการมีส่วนร่วมของประชาชนและการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราชและ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ตัวแปรองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้ผู้บริโภคด้านสุขภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราชผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 388 คน ที่ได้มาจากการคำนวณตามสูตรของ Taro Yamane (1973)แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์แนวลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ในระดับมาก (= 3.44) และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก (= 3.53)ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์องค์ประกอบภายในการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยที่มีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง r = .324 - .525 ซึ่งทุกตัวแปรองค์ประกอบภายในสามารถอธิบายรวมกันได้และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์องค์ประกอบภายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(Health Consumer Protection: HCP)พบว่า ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 โดยที่มีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง r = .369 - .560 ซึ่งทุกตัวแปรองค์ประกอบภายในสามารถอธิบายรวมกันได้และผลการวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ตัวแปรองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation: PP)ที่มีอิทธิพลต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(Health Consumer Protection: HCP)จำแนกตามตัวแปรองค์ประกอบพบว่า ตัวแปรทุกตัวแปร มีอิทธิพลหรือสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ตัวแปรการมีส่วนร่วมการรับรู้ข่าวสาร (Public Information) มีความสัมพันธ์ ที่ค่า Beta= .041, ตัวแปรการมีส่วนร่วมปรึกษาหารือ (Public Consultation) มีความสัมพันธ์ ที่ค่า Beta= .066, ตัวแปรการประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Meeting) มีความสัมพันธ์ ที่ค่า Beta= .081 และตัวแปรการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making)มีความสัมพันธ์ ที่ค่า Beta= .257

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555, ก.ค.-ธ.ค.). “แผนพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 9 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549” วารสารนโยบายและแผน, 2(4), 106-107.

เกษม วัฒนชัย และคณะ. (2551). ภาพรวมของระบบบริการที่พึงประสงค์ในทัศนะผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542).การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

กฤษณชัย กิมชัย. (2552). “อาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติและบทบาทอสม.ยุคใหม่”, วารสารวิชาการสุขภาพภาคประชาชนภาคอิสาน, 23(4), 19 - 37.

สุรพงษ์ มาลี. (2550). วัฒนธรรมแห่งการเป็นองค์กรแห่งการตื่นรู้: แนวทางใหม่ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล. วารสารข้าราชการ. 4. 40-45.

จรัส สุวรรณเวลา. (2553). มุมมองใหม่ระบบสุขภาพ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์. (2553). ประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: บริษัทดีไซร์จำกัด.

ชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2551). การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บูรณ์ ไสยสมบัติ. (2557, ส.ค.-ต.ค.).การจัดบริการสาธารณสุขยุคใหม่”, วารสารวิชาการสุขภาพภาคประชาชนภาคอิสาน, 23(4), 44 - 49.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2559). กระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ของชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ. (2557, ม.ค.-เม.ย.). กระบวนการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพชุมชน: 14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง, วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 28(1), 1-15

วิจิตร ระวิวงศ์ และคณะ. (2551). โครงการวิจัยเรื่องลักษณะปัญหาการรับบริการสุขภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพต่างๆ 2551. นนทบุรี: พิมพ์ที่สำนักงานปฏิรูปสุขภาพ.

วิพุธ พูลเจริญ และคณะ. (2553). สู่การปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2554). “ระบบประกันสุขภาพในภาพรวมของประเทศไทย”, ในเอกสารวิชาการประกอบการสัมมนาระบบหลักประกันสุขภาพของเอเชีย เจด็จ ธรรธัชอารี บรรณาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แผนงานหลักสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรองรับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564).กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่บริษัท เอ็ม.ที.พริ้นท์จำกัด

สุภมาศ อังศุโชติ. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงการพิมพ์.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2554). “ระบบสุขภาพของประเทศไทย”, ในเอกสารวิชาการประกอบการสัมมนาระบบหลักประกันสุขภาพของเอเชีย เจด็จ ธรรธัชอารี บรรณาธิการ.. (2554, ม.ค.-มี.ค.). การพัฒนาระบบสนับสนุนการสื่อสารสุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ต, วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 6(2), 20-23

ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์. (2553). คุณภาพของระบบสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ. (2553). เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ: คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ เอกสารประกอบการบรรยาย สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Anne, E.B. (2013). A Trans-conceptual model of participation and resilience: Divergence, convergence and interactions in kindred community concepts. New Brunswick, N.L.: Transaction Books, Forthcoming.

Basu, I & Jana, S. (2004). HIV prevention among sex workers in India. J acquir immune defic synder 2004. 36: 845-852.

Earl, B. (2010). The Practice of Social Research. USA: Wedsworth Cengage Learning.

Hanlon, J.J. (1974). Public Health Administration and Practice. Saint Louis: The C.V. Mosby Company.

John, M.C. & Norman, T.U. (2010). Participation's Place in Rural Development.Miami University: Jason Harnish.

Rush, S. & Althoff, G. (2011). Political and Civic Engagement. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.

Tversky & Kahneman. (2003). Principles of Public Participation. Washington, DC: American Planning Association.

Vandenberg, H.V. (2010). Public Participation in Public Policy.Miami University: Jason Harnish.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01